กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1485
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพิสิษฐ์ พิริยาพรรณth
dc.contributor.authorเวธกา กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1485
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ของผู้สูงอายุและครอบครัวในการเตรียมความพร้อมสู่การตายอย่างสงบของผู้สูงอายุที่มารับบริการ ในสถานพยาบาลภาคตะวันออก ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณจากการสำรวจต้องการการดูแลของผู้สูงอายุและครอบครัว การวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview ) ประชากร เป็นกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มารับบริการในสถานพยาบาลในภาคตะวันออกใน 8 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก จำนวน 440,562 คน และญาติ จำนวน 1,762,248 สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจ์ซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน แบ่งตามสัดส่วนเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 77 คน ญาติและผู้ดูแลจำนวน 307 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยมนุษย์ และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุและครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.62 อายุเฉลี่ย 71.52 ปี ระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 57.14 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 89.61 แต่งงานและมีคู่ ร้อยละ 62.34 มีรายได้ของครอบครัวเฉลี่ย 25,333.33 บาทต่อเดือน ประกอบอาชีพข้าราชการบำนาญ ร้อยละ 46.75 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 76.62 กลุ่มครอบครัวของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.30 อายุเฉลี่ย 45.50 ปี ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุเป็นบุตร/ธิดา ร้อยละ 56.03 ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 43.65 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 93.81 สถานภาพโสด ร้อยละ 43.00 มีรายได้เฉลี่ย 23,583.33 บาท ต่อเดือน ประกอบอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 25.08 รองลงมาคือพนักงานรัฐ/เอกชน ร้อยละ 17.92 2. ความต้องการการดูแลเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาล กลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัว ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.61 , SD = 0.72 , = 3.79, SD = 0.46) 3. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การตายอย่างสบาย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 คือ ระดับการศึกษา (r = 0.65 , p = 0.002) และ ระดับ 0.05 คือ เพศ (r = 0.49, p =0.028) และโรคประจำตัว (r = -0.50), p = 0.019) ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการดูแลของสมาชิกในครอบครัวผู้อายุเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การตายอย่างสงบ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 คือ ศาสนา (r = -0.66 , p = 0.005) และระดับ 0.05 คืออายุ ( r = -0.52, p = 0.038) เพศ (r = -0.57, p = 0.019) ระดับการศึกษา( r = 0.50, p = 0.048) รายได้ (r - -0.62, p =0.028) และอาชีพ ( r = -0.59, p = 0.015) 4. สรุปความต้องการการดูแลผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ในทัศนคติของผู้สูงอายุพบว่า การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาล เป็นการตายที่ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน โดยได้จัดการสิ่งต่าง ๆ ที่คั่งค้างไว้ให้สำเร็จลงแล้ว และแวดล้อมด้วยผู้เป็นที่รัก ไม่ถูกทอดทิ้งอย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย การตายที่โรงพยาบาล เป็นการตายที่เชื่อมั่นได้ว่าได้รับการช่วยเหลืออย่างดีที่สุดแล้วจากแพทย์พยาบาลเพื่อให้มีชีวิตรอด โดยญาติและครอบครัวจะได้รับการช่วยเหลือดูแลหลังที่ตนเสียชีวิตแล้วจากแพทย์ พยาบาลเป็นผู้ที่มีความรู้ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ สภาพของผู้เสียชีวิตจะได้รับการปกป้องดูแลอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องการให้เพิ่มความใกล้ชิด เห็นอกเห็นใจ ให้ความยืดหยุ่นแก่ญาติและผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยให้ความดูแลอย่างเอื้ออาทร และผ่านปรนกฎระเบียบลงบ้าง ในทัศนะของครอบครัวผู้สูงอายุ พบว่า การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาล เป็นการตายที่ไม่เจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ที่ไม่ได้สร้างภาระให้กับผู้อื่นและครอบครัว เป็นการตายที่สามารถรู้ตัวก่อนและมีโอกาสได้สั่งเสีย ร่ำลา และมีโอกาสสร้างการยอมรับต่อการตายได้ทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว การตายที่โรงพยาบาล ควรมีการจัดสถานที่เฉพาะ มีความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ป่วยที่จะเสียชีวิตให้ญาติและครอบครัวมีโอกาสได้ล่ำลาเป็นครั้งสุดท้ายอย่างสมเกียรติและมีความเหมาะสม ควรมีการฝึกอบรมการใช้คำพูดและกิริยาที่แสดงความเคารพและให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตและครอบครัว แพทย์ควรแจ้งพยากรณ์ของโรคและสื่อสาร ถ่ายทอดให้ผู้ป่วยและญาติรับรู้อย่างเข้าใจเพื่อสามารถเตรียมการได้อย่างมีสติก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือใกล้เสียชีวิตth_TH
dc.description.sponsorshipผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการตายth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleรูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุและครอบครัวสู่การตายอย่างสงบที่โรงพยาบาล (ปีที่ 1)th_TH
dc.title.alternativePreparing peaceful end-of-life care model: hospital based (Phase I)en
dc.typeResearchth_TH
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to explore end- of – life care needs at hospital of elderly and family members and correlation between characteristics of the population and components of end – of- life care needs by using mixed method research. The samples which were selected from the total elderly population of 440,562 and family member of the elderly population of 1,762,248 in the Eastern region of THAILAND were 384 persons, proportion between elderly and family members 77:307 persons. Questionnaire with reliabillty (r = 0.96) and Semi- Structured interview were used as data collecting tool, and statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test and pearson product moment correlation were used for data analysis. The study revealed that ; 1. Overviews of the samples 1.1 The most of elderly were female (76.62%) , average age 71.52 years, education lower undergraduate (57.14%), Buddhist (89.61%), Married (62.34%) , average of family income 25,333.33 bath/month, occupation government employee (46.75%) and had underlying chronic disease (76.62%) 1.2 The most of family of elderly were female (87.30%) , average age 45.50 years, education lower undergraduate (43.65%) , Buddhish (93.81%), Single (43.00%), average of family income 23,582.33 baht/month , occupation government employee (25.08%) and private company employee (17.92%) 2. The end-of-life care need at hospital of elderly and family members were in the high level 3. The correlation between characteristic of the elderly and end-of-life need were education (r = 0.65, p = 0.002) at statistically significant level of 0.01, gender ( r = 0.49, p = 0.028) and underlying of chronic diseases (r = -0.50, p = 0.019) at a statistically significant level of 0.05. The correlation between characteristics of the family members of the elderly and end-of-life need were religion (r = -0.66 , p = 0.005) at a statistically significant level of 0.01 , age (r = -0.52, p = 0.038 ), gender (r = -0.57 , p = 0.019), education (r = 0.50, p = 0.048), income (r = -0.62, p = 0.028) and occupation (r = -0.59, p = 0.015) at a statistically significant level of 0.05. 4. Summarized of the in-depth interviews found that; 4.1 Perception of the elderly in peaceful end-of-life care at hospital mean die with painless, do not suffering and can do anything that they have to do already. Surrounding with people who love. Do not be neglected alone. Death at hospital was a sentiment that has been optimally help from the medical doctor to have survived. Relatives and family members assura to get help and care from medical personnel with professional ethics after they die. Condition of deceased will be completely protected human dignity. Wish to increase the intimacy to the relatives and family members of the elderly who pass away and flexibility for providing caring or lenient the rules of hospital. 4.2 perception of the family member of the elderly in peaceful end-of-life care at hospital mean die with painless, do not suffering and do not burden to others and family. A death that can be realized and have a change to say goodbye and established the activities together for accept the death with both elderly and their family members. Death at hospital should be provided room or location for privacy patient, the relatives and their family have a last farewell with honor and decency. Should be trained to use words and actions to show respect and honor to the deceases and their family. Physicians should indentify predictors and communication to patients and their family to realized that in order to realized that in order to prepared before elderly patient death or near deathen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น