กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1482
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสรร กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorเวธกา กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorพลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1482
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการวัดระดับความเครียด และภาวะซึมเศร้า ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเรื้อรังและอยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำนวน 5,756 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจ์ซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน โดยใช้แบบวัดความเครียดของสวนปรุง (Suanprung Stress Test – 20, SPST - 20) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย ( Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา เรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที่ One way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาสุขภาพเรื่องโรคและการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่ มีปัญหาสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย เกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม / เก๊าท์ / รูมาตอยด์ / ปวดข้อ ร้อยละ 94.96 รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 75.66 2. ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ มีระดับความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 56.75 (ค่าคะแนน 24-41 คะแนน) รองลงมา คือ มีระดับความเครียดสูง คิดเป็นร้อยละ 21.62 (ค่าคะแนน 42-61) มีความเครียดน้อย คิดเป็นร้อยละ 16.22 และมีความเครียดรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 5.41 (ค่าคะแนน 62 ขึ้นไป) 3. ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 70.27 และมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 29.73 โดนส่วนใหญ่มีความซึมเศร้าเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 18.92 รองลงมา มีความซึมเศร้าปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 8.11 และมีความซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 2.7 4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังกับความเครียด พบว่า ปัจจัยด้านระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5. ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า 6. ความเครียดมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข เป็นชุมชนในเขตเมือง ซึ่งพบปัญหาภาวะสุขภาพจิตด้านความเครียดและภาวะซึมเศร้า ควรเร่งการดำเนินดูแลรักษาและให้เอาใจใส่เพื่อพัฒนาผู้สูงวัยในชุมชนให้สามารถปรับตัว มีความสุขและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ดีขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรังth_TH
dc.subjectสุขภาพจิตth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังตามแนวทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ปีที่ 1: ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeNeuro-linguistic programming on mental health care of elderly with chronic IIIness; Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand.en
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was evaluating mental health of the elderly with chronic illness in community. Three hundred and sixty – one samples were simple random sampling from 5,756 older people in Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand . The mental health evaluation tools were Suanprung Test-20 and thai Geriatric Depression Scale: TGDS. Statistics employed were frequency, percentage, mean, standard deviation t-test One way ANOVA Pearson product moment correlation coefficient it was found that; 1. The most health problems of the elderly were arthritis and knee pain (94.96%) and the second was hypertension (75.66%) 2. Stress level of the elderly with chronic illness in moderate level (56.75%) ; Score 24-41 ) mostly, and the second was in high level (21.62%; Score 42-61) , the mild level was 16.22% and the severe level was 5.341% 3. The most of elderly have not depression (70.27%) , on the other hand , the elderly have depression were 29.73% ( mild 18.92% moderate 8.11% and severe 2.7%) 4. Education and occupation correlated with stress in 0.05,0.01 significantly. 5. The correlation between characteristics of the elderly and depression were not significant. 6. Stress and depression in elderly with chronic illness were correlation with 0.05 level of significant. The elderly with chronic illness in Saensuk municipality, Chon Buri, Thailand were the urban community reveled that stress and depression were the mental health problems in this community. Should be concern in this problems for improving quality of their lifeen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น