กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1476
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเวธกา กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorพิสิษฐ์ พิริยาพรรณth
dc.contributor.authorมยุรี พิทักษ์ศิลป์th
dc.contributor.authorรัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์th
dc.contributor.authorสรร กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorสุนันทา โอศิริth
dc.contributor.authorวนัสรา เชาว์นิยมth
dc.contributor.authorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุขth
dc.contributor.authorดนัย บวรเกียรติกุลth
dc.contributor.authorกาญจนา พิบูลย์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:06Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1476
dc.description.abstractแผนงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองผู้สูงอายุ มีโครงการวิจัยย่อย ภายใต้แผนการวิจัยจำนวน 11 โครงการวิจัยย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบเป็นเมืองผู้สุงอายุแสนสุข 2) เพื่อวินิจฉัยชุมชนด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและประเมินศักยภาพของแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน 3) เพื่อพัฒนาแกนนำสุขภาพนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 4) เพื่อพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ 5) เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานโดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม 6) เพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาด้วยเทคนิคเสริมสร้างพลังแห่งตนตามทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 7) เพื่อค้นหาและพัฒนาภูมิปะญญาท้องถิ่น สร้างทีมผู้สูงอายุจิตอาสา 8) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย 9) เพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ และปัจจัยขับเคลื่อนชุมชนผู้สูงอายุสุขภาพดี 10) เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ของผู้สูงอายุชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ สมาชิกในครอบครัว และผู้นำชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้วิจัยเชิงสำรวจ และวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ ตุลาคม 2556-กันยายน 2557 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรีที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นเพศหญิงมาก มีอายุระหว่าง 60-69 ปี สถานภาพ คู่ ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมา คือ ประกอบอาชีพ รับจ้าง มีระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000-19,999 บาท ระยเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นระยะเวลา 1-5 ปี ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับต่ำ ยังมีพฤติกรรมการรับประทานยาที่ผิด และมีปัญหาเรื่องการพักผ่อน นอนหลับอย่างเพียงพอทุกวัน มีความพร้อมด้านการสนับสนุนสังคม ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่ดี ทำให้เป็นโอกาสและจุดแข็งของชุมชนในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2. ในกลุ่มของผู้นำชุมชน หรือแกนนำในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 34.86 ± 6.07 ปี อาชีพ รับจ้าง สถานภาพสมรส คู่ ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา/ปวช. ศาสนา พุทธ ลักษณะของครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยว รายได้ที่ได้รับต่อเดือน เฉลี่ย 14,413.33 ± 7,699.79 บาท รายได้โดยรวมของครอบครัวต่อเดือน เฉลี่ย 26,721.67 ± 6,669.51 บาท มีรายได้ความเพียงพอกับการจ่ายสิทธิบัตรประกันสุขภาพ ระยะเวลาที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว/ชุมชุนเฉลี่ย 5.77 ± 1.29 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ เคยได้รับความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุจากเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบ้าง จากการให้คำแนะนำเมื่อพาผู้สงอายุไปตรวจสุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลในปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งสุขภาพในอดีตและแนวโน้มในอนาคต มีจุดเด่นคือ แกนนำในครอบครัวมีความตระหนัก/ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก และสามารถการยอมรับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุได้ในระดับมากที่สุด ไม่ปฏิเสธความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุและมีทัศนคติบวกต่อการพาผู้สูงอายุไปรับการรักษาจากแพทย์ 3. ผลการประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่มีภาวะเครียดปานหลาง ถึง สูง ซึ่งความเครียด ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตในระดับที่สูงขึ้น ถึงแม้ว่า ภาวะซึมเศร้า จะไม่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลแต่ภาวะเครียดมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า อาชีพ และการศึกษา ดังนั้นจึงยังคงเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ต้องให้ความสำคัญและเฝ้าระวังไม่ให้มีความรุนแรงเกิดความเสี่ยงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมได้ 4. ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะเป็นโรคเรื้อรัง มีอาการของการปวดเข่าและข้อเสื่อมตามวัยที่สูงขึ้น และมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง 5. การสร้างเสริมสุขภาพผู้สงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้รู้สึกภาคภูมิใจและสร้างค่านิยมรักษ์วัฒนธรรมไทย อันจะเป็นมรดกส่งต่อไปชนรุ่นหลังได้ 6. การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุให้ความสำคัญและร่วมทำบุญอย่างสม่ำเสมอ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาจิตวิญญาณให้แก่ผู้สูงอายุ และสร้างความรักความผูกพัน ความสมัครสมานสามัคคี มีกิจกรรมเชื่อมโยงสายใยในครอบครัวได้เป็นอย่างดี 7. พบว่า ในปัจจุบันผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองแต่ยังพบปัญหาด้านการได้รับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพในกลุ่มของผู้สูงอายุที่ยังประกอบอาชีพดังนั้น ในชุมชนควรหากลวิธีในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้สูงวัยให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการที่ผู้สูงอายควรได้รับth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรีen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข (ปีที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeDevelopment Saensuk Happiness Elderly Community Model (Phase I).en
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research project was to develop Saensuk happiness elderly community model and sub-objectives were 1) to develop prototype of community for the elderly 2) to community diagnosis in health care for the elderly and assess potential of health leaders in families and community 3) to develop student leader for help the elderly in community 4) to develop health leaders for the elderly care in families and community 5) to develop health care model for the elderly with diabetic mellitus by participation with family and community 6) to study the effect of Neuro-Linguistic Program to stress and depression in the elderly 7) to explore and find Thai tradition medicine for building team to volunteer and help the elderly 8) to develop health promotion model with Thai traditional medicine 9) to develop eating pattern nutrition and factors to move healthy for all elderly 10) to study and develop learning process for the elderly occupation in the community. The population of this research project was the elderly, the family members and health leaders in Saensuk Municipality,Chon Buri,THAILAND. Research methodologies were research and developing, participatory action research, survey, descriptive research and qualitative research. Study time since October 2013 to September 2014. It was found that; 1. The elderly with diabetics mellitus were female mostly, age range 60-69 years, merchant and education were in primary school, income around 10,000-19,999 baht, during of illness 1-5 year. Lack of knowledge for self-care and self care behaviors were in medium level by low level to stress management. Still have drug use inappropriately and have sleepless problem. 2.The health leaders in families and community revealed that female was the most in age average 34.86 ± 6.07 years, employee, couple, education in secondary school, Buddhist, live in single family, average income per month 14,413.33 ± 7,699.79 baht, average family income 26,721.67 ± 6,669.51 baht that enough for payment in their family, government insurance, average time spending to care the elderly 5.77 ± 1.29 years. They never got a certification to training in health care for elderly, excepted giving some advice from nurse and health care workers. Health perceive in the elderly were in medium level. They accepted to the elderly health problems and aware to taking care old people. They got the positive thinking to take them to the doctors. 3. The mental health evaluation was found that; the elderly in the community has stress in moderate to high level and effect to depression. 4. Health problem of the elderly in the community were chronic illness in musculo-skeleton system such as arthritis, gout, Rheumatisms and joint pain and heart and vascular diseases such as hypertension, diabetic mellitus and hyperlipidemia. 5. Health promotion with Thai traditional medicine was the good choice to make the elderly feel happy and proud to do. 6. Make merit was the routine for the elderly to communicate and cooperate together. 7. Now a day, the elderly try to learn new things for develop themselves to live with people in community but we still found that early age of the elderly, they usually have problems to develop their skill in the workplaceen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_085.pdf9.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น