กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1448
ชื่อเรื่อง: ผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of larval density, rotifer density and weaning age on survival rate and growth of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) larvae
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงทิพย์ อู่เงิน
วรเทพ มุธุวรรณ
เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ศิรปะภา ฟ้ากระจ่าง
ภาวินี ภัทรปราการ
ปรารถนา ควรดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ปลา - -การเจริญเติบโต
ปลาแมนดาริน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ทีจะหาความหนาแน่นของลูกปลาที่เหมาะสม สำหรับการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน โดยไม่มีผลต่ออัตราการรอดและการเจริญเติบโต การทดลองครั้งนี้ทำให้ตู้กระจกความ จุน้ำ 5 ลิตร จำนวน 12 ตู้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (ชุดทดลอง) กลุ่มละ 3 ตู้(ซ้ำ) โดยทำการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนที่ระดับความหนาแน่น 5 ตัวต่อลิตร 10 ตัวต่อลิตร 15 ตัวต่อลิตร ตามลำดับ ระยะเวลาทำการทดลอง 30 วัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการอนุบาลลูกปลาที่มีความหนาแน่นตางกัน มีผลต่ออัตรารอดของลูกปลา (p<0.05) แต่ไม่มีผลการเจริญเติบโตและการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) ของลูกปลา(p<0.05) มีอัตรารอดต่ำที่สุด (3.56±1.09%ᵇ) เมื่ออนุบาลที่มีความหนานแน่น 15 ตัวต่อลิตร แตกต่างกับลูกปลาที่อนุบาลที่มีความหนาแน่น 5 ตัวต่อลิตร 10 ตัวต่อลิตร และ 20 ตัวต่อลิตร ที่มีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) 10.67±1.09%ᵃ6.67±1.33%ᵃᵇและ 7.00±2.08%ᵃᵇ ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลามีความยาวมาตรฐาน (Standard length) (±SE) ต่ำที่สุดเท่ากับ 4.17±0.51 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 5.00±0.07 มิลลิเมตร ความยาวเหยียด (total length) (±SE) ต่ำที่สุดเท่ากับ 5.25±0.64 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 6.37±0.06 มิลลิเมตร สำหรับพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างนั้น พบว่าลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นต่างกัน (±SE) สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เร็วที่สุดมีค่า 13.67±2.19 วัน และได้ช้าสุด 24.67±2.67 วัน สรุปได้ว่าความหนาแน่นที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน เท่ากับ 20 ตัวต่อลิตร เพราะผู้เลี้ยงจะได้ผลผลิตต่อหน่วยปริมาตรสูงโดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของลูกปลาแมนดาริน An experiment was conducted to evaluate the evaluate the optimal stocking density for rearing of the newly hatched Green mandarinfish larvae. Twelve units of 5-litre glass tank were divided into 4 triplicate treatments. The larvae (1.44±0.03 mm standard length(±SE) and1.75±0.03 mm total length (±SE) were stocked in different densities at 5,10,15, and 20 larvae L ˉ¹ of the experiment. The experiment was conducted over a period of 30 days. The results showed that stocking densities affect survival of the larvae (p<0.05) but there were no significant differences in growth and development (metamorphosis) of the larvae among treatments (p>0.05). The larvae at a stocking density of 15 larvae Lˉ¹ had the lowest survival rate (3.56±1.09%ᵇ) while there were no significant differences in survival rates (±SE) at stocking densities of 5 (10.67±1.09%ᵃ),10 (6.67±1.33ᵃᵇ), and 20 larvae Lˉ¹ (7.00±2.08%), respectively. Average final standard length (±SE) and total length(±SE) in mm. of the larvae from 4 treatment were 4.56±0.16,4.05±0.51,5.00±0.07, 4.43±0.64 and 5.73±0.17, 5.25±0.64, 6.37±0.06, 5.60±0.83, respectively. The earliest metamorphosis of the larvae occurred within 13.67±2.19 days (±SE) while the latest metamorphosis occurred within 24.67±2.67 days. The overall results suggest that stocking density at 20 larvae Lˉ¹ of the Green mandarinfish larvae can be considered to obtain the highest production without any effects on survival, growth and development.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1448
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_002.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น