กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1444
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพในการประเมินภาวะไส้ติ่งอักเสบด้วยอัลตร้าซาวด์ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficacy of ultrasonography in evaluation of suspected appendicities in pediatric population
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรสุภา ลิ้มเจริญ
อดิสรณ์ บุญญฤทธิ์
อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
อัลตร้าซาวด์
ไส้ติ่งอักเสบ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบย้อนหลัง( Retrospective analytic cross sectional study) โดยศึกษาจากเอกสารเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กอายุ 1-16 ปีที่ได้รับการทำอัตร้าซาวด์เนื่องจากสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบ ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือน ธันวาคม พ.ศ.2555 การใหการวินิฉัยไส้ติ่งอักเสบ โดยอัลตร้าซาวด์เมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางของไส้ติ่งมากกว่า 6 มิลลิเมตร ถ้าอัลตร้าซาวด์ไม่พบไส้ติ่งจะพิจารณาแยกออกเป็นอีกกลุ่ม นำผลอัลตร้าซาวด์มาเปรียบเทียบกับผลการผ่าตัด และชิ้นเนื้อ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดถือเอาการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลเป็นเกณฑ์ และวิเคราะห์แยกกลุ่มย่อยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด รวมถึงเด็กเล็ก (อายุ 1-10 ปี) กับเด็กโต (อายุ 11-16 ปี) กับระหว่างเพศ ผลการวิจัย อัลตร้าซาวด์พลไส้ติ่งใน 270/428 ราย (63.1 %) อัลตร้าซาวด์มีความไวในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบในกลุ่มเด็กโดยรวม 71.2% ( 95%CI:56.9%-82.9%) ความจำเพาะ 97.7% (95%CI:94.7%-99.3% ) ค่าพยากรณ์ผลบวก 88.1% (95%CI:74.4%-96.0%) ค่าพยากรณ์ผลลบ 93.4% ( 95%CI:89.4%-96.3%) ค่าความแม่นยำ 92.6% โดยมีค่า ROC เท่ากับ 0.84 ค่าความจำเพาะ ( 47.1% ) ค่าพยากรณ์ผลลบ ( 61.5% ) และความแม่นยำ ( ( 76.3% ) มีค่าน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภาพของอัลตร้าซาวด์ระหว่างเพศ หรือระหว่างกลุ่มเด็กเล็กกับเด็กโต ยกเว้นในกลุ่มเด็กเล็กจะมีค่าพยากรณ์ผลบวกต่ำกว่าเด็กโต สรุปผลการวิจัย อัลตร้าซาวด์มีประสิทธิภาพมากพอในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาในการวินิจฉัยจากประวัติและการตรวจร่างกาย ควรนำมาใช้เป็นอันดับแรกในการส่งตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการวินิจฉัยล่าช้า ลดระยะการพักฟื้นในโรงพยาบาล และลดอัราการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1444
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_039.pdf1.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น