กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1436
ชื่อเรื่อง: การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของพืชสมุนไพรในเขตโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of anti-inflammatory activities of medicinal plants from Ban Ang-Ed official community forest (Chaipattana foundation), Chantaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล่าวขวัญ ศรีสุข
เอกรัฐ ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การอักเสบ
พืชสมุนไพร
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สมุนไพรในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี ถูกใช้ในการแพทย์พื้นบ้านมาเป็นระยะเวลานาน ในการศึกษานี้ทำการเลือกสมุนไพรจำนวน 21 ชนิดตามการใช้ในทางการแพทย์ พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่าง ๆ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดเอทานอล และส่วนสกัดน้ำของพืชสมุนไพรการประเมินฤทธิ์ต้านการอักเสบทำโดยการวิเคราะห์การยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ที่เร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และพรอสตาแกลนดิน E2 (prostaglandin E2) ที่เร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่กระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรค์ (lipopolysaccharide, LPS) ทดสอบความมีชีวิตรอดของเซลล์แมคโครฟาจที่สัมผัสกับส่วนสกัดของพืชโดยวิธี MTT และตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมโดยวิธี Folin-Ciocalteu ผลการศึกษาพบว่าส่วนสกัดของพืชสมุนไพรที่ศึกษามีฤทธิ์ต้านอักเสบ ส่วนสกัดเอทานอลของพืชทุกชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่สูงกว่าส่วนสกัดน้ำ ยกเว้นส่วนสกัดของใบมะฮึกจากส่วนสกัดทั้งหมดพบว่าส่วนสกัดใบสาบแร้งสาบกา และส่วนสกัดของรากมฮึกมีฤทธิ์ในการลดการผลิตไนตริกออกไซด์ และพรอสตาแกลนดิน E2 ที่สูง โดยไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้พบว่า ความสามารถในการต้านอักเสบ และปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมของส่วนสกัดมีความสัมพันธ์ที่ต่ำ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าใบสาบแร้งสาบกา และรากมะฮึกเป็นแหล่งของสารต้านอักเสบตามธรรมชาติที่ดี ส่วนสกัดเอทานอลของใบสาบแร้งสาบกาถูกนำไปศึกษาต่อ เนื่องจากมีการรายงานว่าส่วนสกัดจากใบสาบแร้งสาบกามีฤทธิ์ต้านอักเสบในสัตว์ทดลองหลายโมดล แต่ยังไม่มีการอธิบายถึงกลไกการต้านอักเสบของมัน ดังนั้นเราจึงศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบและกลไกการต้านอักเสบของส่วนสกัดเอทานอลของใบสาบแร้งสาบกา (ACE) ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรด์ ACE สามารถยับยั้งการผลิดไนตริก ออกไซด์ และพรอสตาแกลนดิน E2 ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้นโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 22.69 ± 0.14 และ 25.92 ± 5.72 µg/mL ตามลำดับ ACE ที่ความเข้มข้น 3.125-50 µg/mL ไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์อย่างมีนัยสำคัญ และลดการแสดงออกของmRNA และโปรตีน ของ iNOS และ COX-2 ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น นอกจากนี้ ACE ยังลดการเคลื่อนที่เข้าสู่นิวเคลียสของหน่อยย่อย p65 ของ nuclear factor-KB (NF-KB) และลดการฟอสโฟรีเลชันของเอนไซม์ extracellular receptor kinase (ERK) และ p38 mitogen-activated proteinkinases (MAPKs) ผลการศึกษาที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์ต้าน การอักเสบของ ACE อย่างน้อยเกิดผ่านทางการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซต์ และพรอสตาแกลนดิน E2 โดยลดการแสดงออกของเอนไซม์ iNOS และ COX-2 และลดการส่งสัญญาณชีวภาพของวิถี NF-KB และ MAPKs การค้นพบนี้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนการใช้ใบสาบแร้งสาบกาในทางการแพทย์พื้นบ้านเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1436
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น