กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1353
ชื่อเรื่อง: พัฒนาการ การเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) ที่อนุบาลด้วยระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development, growth and survival rate of the Harlequin shrimp's larvae (Hymenocera pocta) rearing un different rearing systems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรเทพ มุธุวรรณ
เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
ปรารถนา ควรดี
ศิริวรรณ ชูศรี
มนัญทิญา ยิ้มเจริญ
อธิกพันธ์ ภูธนศิริชนิสรา
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การอนุบาลลูกุ้ง
การเลี้ยง
กุ้งการ์ตูน
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนในกลุ่มเตคาพอดครัสเตเซียม (Decapod crustacean) มีความแตกต่างจากการอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนทั่วไป เนื่องจากตัวอ่อนของสัตว์ทะเลในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบบอบบาง ฉีกขาดง่าย ทำให้รูปแบบของภาชนะที่ใช้อนุบาล และลักษณะการไหลของน้ำในภาชนะอนุบาล มีผลต่อความสำเร็จในการอนุบาล ในการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสำหรับอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนในครั้งนี้ ได้นำเอาหลักการของ "Planktonkreisel" (Greve, 1968) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา ภาชนะ ที่ใช้ในการอนุบาลตัวอ่อน ซึ่งภาชนะที่มีรูปแบบต่างกัน 2 แบบ คือ Pseudokreisel tank (PK) (Raskoff et al., 2003) และ Cylindrico-spherical upweller tank (CST) (Calado et al. 2008) พร้อมกับระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ เปรียบเทียบกับการอนุบาลแบบเดิมในระบบน้ำนิ่ง มีการเปลี่ยนถ่าย การทดลองเริ่มจากต้นแบบระบบทดลองขนาดเล็กเพื่อทำการทดสอบเบื้องต้น แล้วทำการทดสอบอัตราการไหลของน้ำที่แตกต่างกัน 2 ระดับ เมื่อได้ผลการทดลองแล้วจึงขยายขนาดของภาชนะเพิ่มขึ้น จาก 25 ลิตร เป็น 65 ลิตร แล้วทำการทดลองซ้ำอีกครั้ง ในระบบต้นแบบการทดลองขนาดเล็ก ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า รูปแบบของภาชนะ อัตราการไหลของน้ำมีผลต่อการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนระยะวัยอ่อน อัตราการไหลของน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาชนะแบบ Psedokreisel จาก 0.5 ลิตรต่อนาที เป็น 1 ลิตรต่อนาที ทำให้อายุเฉลี่ย (+-SD) ของลูกกุ้งการ์ตูนเพิ่มขึ้นจาก 6.5+-4.4 วัน เป็น 13.8+-3.3 วัน ซึ่งเทียบเท่ากับอายุเฉลี่ยของลูกกุ้งในภาชนะแบบ CST ที่อัตราการไหลของน้ำ 1 และ 2 ลิตรต่อนาที คือ 18.3+-3.9 18.8 +- 2.1 วัน ตามลำดับ และที่อัตราการไหลของน้ำที่ 2 ลิตรต่อนาที ในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด ลูกกุ้งสามารถเจริญเติบโตจนถึงระยะ Post-larva ได้ ภาชนะเลี้ยงที่ถูกขยายขนาดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จาก 25 ลิตร เป็น 65 ลิตร ทำให้ประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนจนผ่านพ้นระยะวัยอ่อนได้ ในภาชนะทดลองทั้งสองรูปแบบที่ใช้ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมน้ำ โดยลูกกุ้งมีอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ (+-SD) 7.8+-0.8 และ 0.4+-0.6 ในภาชนะแบบ CST และ PK ตามลำดับ ขณะที่ลูกกุ้งการ์ตูนตายหมดเมื่อมีอายุระหว่าง 11-37 วันเท่านั้น แสดงให้เห็นว่านอกจาก รูปแบบของภาชนะ และอัตราการไหลของน้ำแล้ว ขนาดของภาชนะและระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ในระบบที่พัฒนาขึ้นประสบผลสำเร็จในการอนุบาลลูกกุ้งการืตูน ทั้งนี้รูปแบบภาชนะที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งการืตูน ควรใช้ภาชนะแบบ cylindrico-spherical upweller tank และใช้ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ใช้สาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ระหว่างการอนุบาล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1353
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น