กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1348
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวรเทพ มุธุวรรณth
dc.contributor.authorเสาวภา สวัสดิ์พีระth
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ เหลืองอ่อนth
dc.contributor.authorวิรชา เจริญดีth
dc.contributor.authorปรารถนา เข็มทองth
dc.contributor.authorอภิศักดิ์ เฮ่งพกth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:28Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:28Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1348
dc.description.abstractข้อมูลเชิงปริมารและมูลค่าการค้ารายปี สัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่มกุ้ง กั้ง ปู (Marine Oranmental Decapods) ของประเทศไทย ระหว่างเดือน มกราคม 2553 ถึง ธันวาคม 2554 ถูก ประเมินด้วยวิธี การสำรวจตลาดการค้าสัตว์สวยงามประจำเดือนละครั้ง และจากข้อมูลการนำเข้า ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากด่านตรวจสัตว์น้ำ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการสำรวจแหล่งจำหน่ายสัตว์ทะเลสวยงามในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ศูนย์กลางการค้าอยู่ที่ตลาดนัดสวนจตุจักรและตลาดที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยในปี พ.ศ. 2553 มีร้านค้าที่จำหน่ายสัตว์ทะเลสวยงามรวมทั้งสิ้น 23 ร้าน และลดลงเหลือเพียง 15 ร้านในปี พ.ศ. 2554 ช่วงระยะเวลาของการสำรวจตลอด 2 ปี พบว่ามีสัตว์ทะเลเสวยงามในกลุ่ม กุ้ง กั้ง ปู ที่ถูกนำมาค้าในตลาดทั้งสิ้นจำนวน 2 อันดับ (Order) 22 วงศ์ (Family) 45 ชนิด (Species) โดยมีปริมาณการค้ารวมเฉลี่ยปีละ 36,953 ตัว แบ่งออกเป็น กุ้ง 30,30541 ตัว ปู 6,340 ตัว และกั้ง 72 ตัว และมีมูลค่าของการค้าเฉลี่ยเท่ากับ 7,702,545 บาทต่อปี แบ่งออกเป็น กุ้ง 6,834,487 บาทต่อปี ปู 938,188 บาทต่อปี และกั้ง 29,870 บาทต่อปี ส่วนข้อมูลการนำเข้าผ่านทางด่านตรวจสัตว์น้ำ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เดือน มกราคม 2553 ถึงเดือน ธันวาคม 2554 พบว่ามีชนิดของสัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่ม กุ้ง กั้ง ปู ที่นำเข้ามาในประเทศทั้งสิ้น 2 อันดับ 21 วงศ์ 56 ชนิด โดยมีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 11,170 ตัวต่อปี แบ่งออกเป็น กุ้ง 10,049 ตัว ปู 1,114 ตัว และกั้ง 7 ตัว และมีมูลค่าที่ปรากฏในใบสั่งซื้อเฉลี่ยเท่ากับ 183,999.97 บาทต่อปี แบ่งออกเป็น กุ้ง171,66254 บาทต่อปี ปู12,235.25 บาทต่อปี และกั้ง 102.18 บาทต่อปี จากข้อมูลการวิจัยพบว่า ชนิดของกุ้งทะเลสวยงามที่มีความต้องการในตลาดสูง หรือมีมูลค่าสูง เป็นชนิดที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสนับสนุน ส่งเสริม ให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงต่อไป เพื่อลดการจับจากธรรมชาติและสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ทำการเพาะเลี้ยง มีอย่างน้อย 6 ชนิด โดย 4 ชนิด เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย คือ กุ้งการ์ตูน (Hymenocera picta) กุ้งพยาบาล (Lysmata amboinensis) กุ้งมดแดง (Rhynchocinetes durbanensis) และกุ้งนักเลง (Stenopus hispidus) อีก 2 ชนิด ไม่พบว่ามีรายงานการพบในประเทศไทย คือ กุ้งไฟ (Lysmata debelius) และกุ้งเปปเปอร์มินท์ (Lysmata wurdemani)th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2553-2554en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการค้าสัตว์ทะเลth_TH
dc.subjectตลาดการค้าสัตว์th_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleธุรกิจการค้าสัตว์ทะเลสวยงามในกลุ่มกุ้ง กั้ง ปู ของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMarine ornamental decapods trade in Thailand
dc.typeResearch
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeTrading data of marine ornamental decapods in Thailand was estimated during January 2010 and December 2011 by collecting data from marine ornamental organisms shops in Jatijak market and nearby markets once a month and from importing data from Suvarnabhumi Aiport Fish Ispection Office (SAFS), Department of Fisheries. The center for marine ornamental organisms trade in Thailand is Jatujak market and in the vicinity of the Jatujak market. Twenty-three marine ornamental organism shops were found in 2010 while the number decreased to 15 shops in 2011. Two orders, 22 famikies and 45 species of marine ornamental decapods were found in the markets during the two years of data collection. An average estimatedtotal number of marine ornamental decapods trade in 2011-2013 is 36,953 individuals per year which comprised of shrimps, crabs and mantis shrimps at 30,541, 6,340 and 72 individuals per year, respectively. An average estimated total value of the trade is 7,702,545 baht per year which including shrimps, crab and manthis shrimps at 6,834,487, 838,188 and 29,870 baht per year, respectively. Importing data from SAFS at the same period showed that 2 orders, 21families and 56 species were imported into the country. An average total number of 11,170 individuals were imported in a year which comprised of shrimps, crabs and manthis shrimps at 10,049, 1,114 and 7 individuals per year, repectively. An average imported value is 183,999,97 baht per year which including shrimps, crabs and manthis shrimps at 171,662,54, 12,235,25 and 102.18 baht per year, respectively. According to the demand and price of the traded species, at least 6 species have high potential as candidacy for research to develop the propagation and culture techniques. Four species are found in Thai waters, Harlequin shrimp (Hymenocera picta), Cleaner shrimp (Lysmata amboinensis), Dancing shrimp (Rhynchocinetes durbanesnis) and Banded boxing shrimp (Stenopus hispidus) while the others are imported species, Fire shrimp (Lysmata debelius) and Peppermint shrimp (Lysmata eurdemani).en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น