กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1326
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปภาศิริ บาร์เนทth
dc.contributor.authorสุวรรณา ภาณุตระกูลth
dc.contributor.authorพอจิต นันทนาวัฒน์th
dc.contributor.authorนันทพร ภัทรพุทธth
dc.contributor.authorนิภา มหารัชพงศ์th
dc.contributor.authorไพฑูรย์ มกกงไผ่th
dc.contributor.authorอาวุธ หมั่นหาผลth
dc.contributor.authorนันทิกา คงเจริญพรth
dc.contributor.authorMalin Charlotta Celanderth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:26Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:26Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1326
dc.description.abstractการศึกษาการปนเปื้อนของแคดเมียมและสาร Polycyclic aromatic hydrocarbon (PAHs) ซึ่งเป็นสารประกอบในคราบน้ำมัน ได้ถูกตรวจสอบในปลาทะเลธรรมชาติและหอยแมลงภู่เลี้ยงในฟาร์มทะเลจากชายฝั่งทะเลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรีและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 5 กิโลเมตรจากชายฝั่ง รวมทั้งตรวจสอบตัวชี้วัดชีวภาพ Cytochrome P450 (CYP1A) และ Metallothionein (MT) บ่งชี้การรับสัมผัสสารต่อสาร PAHs และโลหะหนัก ตามลำดับ ทำการเก็บตัวอย่างเพียงครั้งเดียวใน 3 ปี โดยรายงานครั้งนี้ ปี พ.ศ. 2556 เป็นปีที่ 2 รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลและการรับรู้ความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของประชาชน หญิงตั้งครรภ์และนักเรียน จากการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวิเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมีจากการบริโภคอาหารทะเล ผลการศึกษาพบว่าปริมาณแคดเมียมในตับปลาทะเลจากอ่างศิลา ค่าเฉลี่ย 0.4490+-0.6753 ug/g wet wt. (n=30) สูงกว่าตับปลาทะเลจับจากมาบตาพุด ค่าเฉลี่ย 0.352+-0.3252 ug/g wet wt. (n=30) และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p>0.01) แต่พบสูงกว่าในเนื้อปลาทะเลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ที่มีค่าแคดเมียมต่ำใกล้เคียงกันคือ อ่างศิลาและมาบตาพุด มีค่าช่วงเฉลี่ย 0.0028+-0.0035 ug/g wet wt. และ 0.0033+-0.0024 ug/g wet wt (n=30) ตามลำดับ ปลาทะเล 17 ชนิดจับจากอ่างศิลาที่ค่าปริมาณแคดเมียมค่อนในตับข้างสูง คือ ปลาลิ้นหมา ปลาสีกุน และปลาข้างตะเภา ( 1.4 57’ 2.6 ug/g wet wt.) ส่วนตับปลาทู (เฉลี่ย 0.2473+-0.0561 ug/g wet wt.) ส่วนปลาทะเล 11 ชนิด จับจากมาบตาพุดที่ค่าปริมาณแคเมียมสูงมีเพียงชนิดเดียวคือ ในตับปลาทู (เฉลี่ย 0.8777+-0.6479 ug/g wet wt.) ซึ่งสูงกว่าอ่างศิลา ปริมาณแคดเมียมในหอยแมลงภู่พบในช่วงความเข้มข้นน้อยกว่าจากตับปลาทะเล บริเวณอ่างศิลาในหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 0.05128+-0.0043 ug/g wet wt. (n=20) สูงกว่าหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ย 0.0485+-0.0055 ug/g wet wt. (n=20) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p< 0.01) แต่บริเวณมาบตาพุดค่าความเข้มข้นของปริมาณแคดเมียม ในหอยแมลงภู่ขนาดเล็กและใหญ่เฉลี่ย 0.0136+-0.0040 ug/g wet wt. (n=19) และ 0.0104+-0.0027 ug/g wet wt. (n=20) ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (p>0.01) แต่ละค่าความเข้มข้นของปริมาณแคดเมียม ทั้งในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่และขนาดเล็กจากบริเวณอ่างศิลามีค่าสูงกว่ามาบตาพุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ความเข้มข้นของ PAHs รวมในตับปลาจากอ่างศิลา มีค่าเฉลี่ย 0.16982+-0.1650 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 2.8 เท่า ในกล้ามเนื้อค่าเฉลี่ย 0.0607+-0.0708 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในตับปลามีค่าเฉลี่ย 0.1314+-0.0699 ug/g dry wt. (n=30) สูงกว่า 3.7 เท่า ในกล้ามเนื้อเฉลี่ย 0.0351+- 0.0378 ug/g dry wt. (n=30) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างค่าความเข้มข้นของ PAHs ในเนื้อเยื่อตับและกล้ามเนื้อปลาที่อาศัยบริเวณอ่างศิลาและบริเวณมาบตาพุด (p>0.05) ความเข้มข้นของ PAHs รวม ของหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จากอ่างศิลามีค่าเฉลี่ย 0.1190+-0.0959 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 2.3 เท่าในหอยขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 0.0507+-0.0398 ug/g dry wt. (n=20) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วยสถิติ ANOVA (p<0.01) ส่วนมาบตาพุด ความเข้มข้นของ PAHs ในหอยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย 0.2542+-0.1301 ug/g dry wt. (n=20) สูงกว่า 1.6 เท่าในหอยขนาดเล็ก ค่าเฉลี่ย 0.1569+-0.1160 ug/g dry wt. (n=20) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และพบความแตกต่างระหว่างค่าความเข้มข้นของ PAHs ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่และหอยแมลงภู่ขนาดเล็กที่อาศัยบริเวณมาบตาพุดมีค่าสูงกว่าอ่างศิลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนจากจังหวัดตราดไม่พบสาร PAHs รวม (n=100) ชนิดของ PAHs จาก 16 ตัวที่เป็นพิษสามารถตรวจพบจากปลาทะเลจากทั้งสองแหล่งทั้งตับและกล้ามเนื้อ รวมทั้งหอยแมลงภู่ขนาดเล็กและใหญ่พบเป็นสารขนาดมวลโมเลกุลเล็กมี 3 ชนิดเท่านั้นคือ Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Fluoranthen (FLA) ส่วนมาบตาพุดในหอยแมลงภู่ขนาดเล็ก นอกจากพบ 3 ชนิด แล้วยังพบเพิ่มคือ chrysene (CHR) ในหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่นอกจากพบ 3 ชนิดแล้วยังพบเพิ่มคือ Acenaphthylene (ACY) และ Chrysene (CHR) การแสดงออกของ CYP1A (ขนาดแบนที่ 76/54 kDa) ในปลาทะเลด้วยเทคนิคแอนติบอดี (Western blot) จากอ่างศิลาพบว่ามีผลบวก จำนวน 44 จาก 60 ตัวอย่าง (73.3%) ส่วนมาบตาพุด พบจำนวน 48 จาก 60 ตัวอย่าง (80%) การแสดงออกของ MT (ขนาด 10 kDa) จากอ่างศิลาพบมีจำนวน 10 จาก 60 ตัวอย่าง ผ16.6%) ส่วนมาบตาพุด พบมีจำนวน 34 จาก 60 ตัวอย่าง (56.7%) โดยประเภทปลาทะเลชนิดการกินอาหาร (กินเนื้อ กินพืช และกินทั้งพืชทั้งเนื้อ) ไม่มีผลนัยยะต่อการแสดงออกของ CYP1A และ MT ผลการตรวจการแสดงออกของ CYP1A (56 kDa) ด้วยเทคนิคแอนติบอดี ในหอยแมลงภู่ทั้งอ่างศิลาและมาบตาพุดพบ 100% ทั้งสองสถานี แต่ความเข้มของแบนตัวชี้วัดชีวภาพมีการจับด้วยความเข้มต่างกันในตัวอย่างต่างกัน โดยอ่างศิลาหอยขนาดทั้งใหญ่และขนาดเล็กมีการจับของแอนติบอดีกับแอนติเจนความเข้มบาง (+) และความเข้มปานกลาง (++) เท่านั้น ส่วนมาบตาพุดหอยทั้งขนาดเล็กและใหญ่มีความเข้มปานกลาง (++) และเข้มมาก (+++) เท่านั้น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการรับรูปความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารทะเลของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลภาคตัดขวางในหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ในบริเวณมาบตะพุด จ. ระยอง และอ่างศิลา จ. ชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 241 และ 356 คน ตามลำดับ โดยใช้แบบสอบถามมีโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนในมาบตาพุดและอ่างศิลาบริโภคปลาทู กุ้ง ปลาหมึก ปู และหอยแมลงภู่ในระดับบ่อยครั้งถึงเป็นประจำ หญิงตั้งครรภ์ในอ่างศิลา มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลที่บ่อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ในมาบตาพุด โดยร้อยละ 45 รับประทานอาหารทะเลอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ส่วนเด็กนักเรียนในมาบตาพุด มีพฤติกรรรมการบริโภคอาหารทะเลที่บ่อยกว่าเด็กนักเรียนในอ่างศิลาโดยประมาณ ร้อยละ 50 รับประทานอาหารทะเลสด 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลของหญิงตั้งครรภ์ในมาบตาพุดและอ่างศิลา พบว่า มีการบริโภคอาหารทะเลสดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.001 ขณะที่ในเด็กนักเรียนสองพื้นที่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันในการบริโภคอาหารทะเลสด ด้านความรู้ พบว่า ส่วนใหญ่ (>ร้อยละ 60) ของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนของทั้งสองพื้นที่มีความรู้อยู่ในระดับน้อย ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ที่เกี่ยวกับการป้องกัน การลดปริมาณการปนเปื้อนสารเคมีและผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียมและโพลีไซคลิกอะโร เมติกไฮโดรคารบอน เช่นเดียวกับกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ทำการศึกษาวิจัยในปี 2555 ประมาณร้อยละ 40 ของหญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนทั้งในมาบตาพุดและอ่างศิลาไม่รู้จักโลหะหนัก และมากกว่าร้อยละ 88 ไม่รู้จักแคดเมียม และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ด้านการรับรู้ ความเสี่ยง พบว่า มากกว่าร้อยละ 86 ของหญิงตั้งครรภ์ในทั้งสองพื้นที่มีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับน้อย ในขณะที่ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49.8) ของเด็กนักเรียนในมาบตาพุดมีการรับรู้ความเสี่ยงในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้ความเสี่ยง พบว่า หญิงตั้งครรภ์ในมาบตาพุดและอ่างศิลา มีความรู้ความเข้าใจและมีการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอาหารทะเลและโลหะหนัก ไม่แตกต่างกัน จากหญิงตั้งครรภ์ในอ่างศิลา ที่ P=0.14, และ P=0.46 ตามลำดับใน ขณะที่เด็กนักเรียนในมาบตาพุดมีความรู้และมีการรับรู้ความเสี่ยงสูงกว่าเด็กนักเรียนในอ่างศิลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.001 แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารทะเลและโลหะหนักของเด็กนักเรียนในมาบตาพุดและอ่างศิลา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.35 สรุปผลจากการศึกษาที่ผ่านมา 2 ปี ในกลุ่มประชาชนทั่วไป หญิงตั้งครรภ์และเด็กนักเรียนในมาบตาพุด อ่างศิลา พบว่า ส่วนใหญ่ทราบถึงแหล่งที่มาของการปนเปื้อนและการรับสัมผัสสารเคมีในอาหารทะเลและการป้องกัน/ ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหารทะเล แต่ความรู้ ความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับสารเคมีและความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส ตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพ ยังอยู่ในระดับคะแนนที่ต่ำดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารความเสี่ยงเกี่ยวกับผลกระทบต่อร่างกายและการป้องกันตนเองจากการบริโภคอาหารทะเลth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2555-2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectโลหะหนักth_TH
dc.subjectสารอินทรีย์งth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมมาบตาพุดth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการประเมินผลกระทบของโลหะหนักและสารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอนต่อสัตว์ทะเลตามแนวชายฝั่งทะเลอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองth_TH
dc.title.alternativeAssessments of heavy metals and organic hydrocarbons exposure in selected marine animals from coastal industrial area at Map Ta Phut, Rayoung Provinve.en
dc.typeResearchen
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThe study concentrated on Cadmium and total Polycyclinc aromatic hydrocarbons (PAHs) contamination on feral fish and farmed green mussels along the Ang Sila coast, Chonburi province and Mapthaputh Industrial Estate, Rayong province in 2012 to 2014. In addition, biomarker (Cytochrome P450, Cyp1A) and Metallothionein (MT) assessment proved exposure to above mentioned chemicals based on on one time sampling collected in 2013. Pragnant and student’s behaviour in marine food consumption and their perceived risks related to consuming food was studied based on interviews relating to their knowledge and understanding about danger in consuming marine food contaminated with chemicals. Results showed Cadmium in fish liver caught from Ang Sila averaged 0.4490+-0.6753 ug/g wet wt. (n=30), which is higher value than the liver in fish caught from Mapthaputh that averaged 0.3252+-0.3441 ug/g wet wt. (n=30). It is not statistically significant with ANOVA (p>0.01). As compare to the fish meat, the Cadmium level is lower and statistically significant with ANOVA (p<0.01) in both areas where Ang Sila and Mapthaputh averaged 0.0025+-0.0035 ug/g wet wt. (n=30) and 0.0033+-0.0024 ug/g wet wt (n=30). Seventeen fish species were caught from Angsila, 3 species with high Cadmium quantity in the liver (~1.4 ถึง 2.6 ug/g wet wt.) were Synaptura panoides, Alepes djedaba and Terapon jarbua where Mackerel (Rastrelliger brachysoma) has cadmium level at 0.2473+-0.0561 ug/g wet wt. As for Mapthapputh, the level of Cadmium quantity in the liver is high only in Mackerel (averaged 0.8777+-0.6479 ug/g wet wt.) as for the total of 11 fish species tested. The Cadmium quantities in green mussels found is lower than that fish liver. Around Ang Sila, the Cadmium concentration in small green mussels averaged 0.05128+-0.0043 ug/g wet wt. (n=20), which is higher than large green mussels that averaged 0.0485+-0.0055 ug/g wet wt. (n=20) with statistical significance with ANOVA (p<0.01). On the contrary, around Mapthaputh area, there is no statistical significance (p>0.01) of Cadmium concentration between large (averaged 0.0136+-0.0040 ug/g wet wt. (n=19) and small green mussels (averaged 0.0104+-0.0027 ug/g wet wt.). And, Cadmium concentration in green mussels of both large and small around Ang Sila is higher than Mapthaputh with statistical significance (p<0.01). The concentration of PAHs in fish liver from Ang Sila averaged 0.16982+-0.0708 ug/g dry wt. (n=30). This is significant statistically with ANOVA (p<0.01). As for Mapthaputh area, the concentration of PAHs in fish liver averaged 0.1314+-0.0699 ug/g dry wt. (n=30), which is 3.7 times higher than fish meat that averaged 0.0351+-0.0378 ug/g dry wt. (n=30). This is no significant statistically difference (p>0.05) in which the concentration in fish meat and liver from both Ang Sila and Mapthaputh. The concentration of total PAHs from large green mussels in Ang Sila averaged 0.1190 +-0.0959 ug/g ug/g dry wt. (n=30), which is 2.3 times higher than small green mussels that averaged 0.0507+-0.0398 ug/g dry wt. (n=30). This is different with statistical significance with ANOVA (p<0.01). As for Mapthaputh, the concentration of PAHs in large green mussels averaged 0.2542+-0.1301 ug/g dry wt. (n=30). It is different with statistical significance (p<0.01). The total concentration of PAHs of both sizes of green mussles from Ang Sila is higher than that from Mapthaputh with statistical significance (p<0.01). Farmed-mussel (as control) collected form Trat Province found no PAHs concentration (n=10) Fish (Liver and muscle) from both stations and from Ang Sila (small and large size of green mussel found 3 types of low molecular weight PAH namely Phenanthrene (PHE), Pyrene (PYR), Floranthene (FLA). For Maptaohut, Chrysene (CHR) found additional type beside 3 types of PAHs in small size of green mussl while large size found additional type of Acenaphthylene (ACY) and Chrysene (CHR). The expressiono of CYP1A (molecular mass at 76/54 kDa, Wester Blot) in marine fish from Ang Sila using antibody technique shows 44 positive results from 60 samples (73.3%) as for Mapthaputh area, there are 48 positive results from 60 samples (80%). MT expression (size 10 kDa) from Ang Sila was found in 10 out of 60 samples (16.6%) as for Mapthaputh, 34 out of 60 samples (56.7%). Fish species as categorized by its consumption behaviour (carnivore, omnivore and herbivore) has no significance statistically in relation to expression of CYP1A and MT. The expression of CYP1A (56 kDa) with antibody technique was found in green mussels for both Ang Sila and Mapthaputh. However, the concentration of the bioindicator band can verify different concentrations of samples. Both small and large green mussels. Both small and large green mussels from Ang Sila were verified by antibody and antigen with thin concentration (+) and average concentration (++) only. As for Mapthaputh, small and large green mussels have average (++) and high concentration (+++) only. Seafood consumption behavior and perception of the risk associated with seafood consumption by pregnant women and students living near Mapthaputh Industrial Estate, Rayong Province, Thailand were surveyed for cross-sectional data. A structured interview with a total of 241 pregnant women and 356 students found that most pregnant women and student consume mackerel, shrimp, squid, crab, and green mussels frequently to always. Pregnant women in Angsila consume more seafood than pregnant women living in Mapthaputh or about 45% of pregnant women consume seafood at least 3 times per week Students in Mapthaputh consume more seafood than students in Angsila or about 50% of students consume fresh seafood 1-2 times per week. When consumption behavior is compared between pregnant women in Mapthaputh and Angsila, there is a statistically significant differences at P,0.001, while students from both areas showed no differences in fresh seafood consumption. In terms of knowledge, it was found that most (more than 60%) pregnant women and students in both areas have low levels of knowledge on chemical contamination and preventative measures fromchemicals such as cadmium and polycyclic aromatic hydrocarbon. This finding corresponds to a survey conducted in 2013 on the general public. About 40% of pregnant women and students in Mapthaputh and Angsila have no knowledge of heavy metals and more than 88% have no knowledge of cadmium and polycyclic aromatic hydrocarbon. Furthermore, it was found that 86% of pregnant women in both areas have Little knowledge of risks, while 49.8% of students in Mapthaputhhavehave some perception of risks associated. The comparison on knowledge, understanding and perception of risks associatd with heavy metals found no statistical significant difference between pregnant women in Mapthaputh and Angsilaas P=0.14, P=0.28, and P=0.46 respectively. Students in Mapthaputh are more knowledgeable and perceivesthe risks associated with heavy metals than students in Angsila with statistically significant difference at P,0.001. However, understanding of seafood and heavy metals of students in Mapthaputh and Angsila is not statistically significant difference at P=0.35. In conclusion, based on the 2 years spent on studying the general public, pregnant women, and students in Mapthaputh and Agsila, it was found that in general these groups know the source of contamination and exposure to chemicals in seafood and prevention of reduction measures of chemical contamination in seafood, but knowledge, understanding, and perception of risks associated with exposure as well as effects on health is low. As a result, more supports should be given in terms of public communication of the risks and effects on health along with preventative measures from heavy metals for seafood consumption.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น