กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1325
ชื่อเรื่อง: การรายงานข่าวสารและการจัดการข่าวสารในประเด็นความชอบธรรมทางการเมืองพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล: กรณีศึกษา พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ จากมุมมองของสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์รายวัน) พุทธศักราช 2549-2551.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: News Reporting and News Management on the Issue of Righteousness in Political Behaviors of a Head of the Goverment: A Case Study of General Surayut Chulanont from the Perspectives of the daily Newspaper from 2548 to 2551 B.E.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรงยศ บัวเผื่อน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
ข่าวการเมือง
พฤติกรรมข่าวสาร
สื่อมวลชนกับการเมือง -- ไทย
หนังสือพิมพ์กับการเมือง -- ไทย
ผู้นำทางการเมือง -- ไทย
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “การรายงานข่าวสารและการจัดการข่าวสารในประเด็นความชอบธรรมทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำรัฐบาล: กรณีศึกษาพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ จากมุมมองของสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์รายวัน) พุทธศักราช 2549-2551” ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การรายงานข่าวสารทางการเมืองของหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในประเด็นความชอบธรรมทางการเมือง ความสามารถในการปกครอง บุคลิกภาพและพฤติกรรมทางการเมือง 2. เพื่อศึกษาการจัดการข่าวสารทางการเมืองของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในประเด็นความชอบธรรมทางการเมือง ความสามารถในการปกครอง บุคลิกภาพและพฤติกรรมทางการเมืองที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสารหนังสือพิมพ์ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้เลือกหนังสือพิมพ์ไทยรายวันที่นำเสนอข่าวสารหนัก 2 ชื่อฉบับ ได้แก่ มติชนรายวันและผู้จัดการรายวัน ที่นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมือง ความสามารถในการปกครอง บุคลิกภาพ และพฤติกรรมทางการเมือง การจัดการข่าวสารทางการเมือง พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยมีหน่วยในการวิเคราะห์คือ คำ ข้อความ วลี ประโยค ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การรายงานข่าวสารทางการเมืองของหนังสือพิมพ์ ความสามารถในการปกครอง บุคลิกภาพ และพฤติกรรมทางการเมือง และการจัดการข่าวสารทางการเมืองของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดังนี้ 1. การรายงานข่าวสารทางการเมืองของหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ แบ่งออกเป็น 1.1 ประเด็นความชอบธรรมทางการเมือง พบว่าผู้นำทางการเมืองจะต้องมาจากการเลือกตั้ง จึงต้องใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม มีวิสัยทัศน์และต้องยึดถือกฎหมายเป็นที่ตั้ง ไม่ทำผิดกฎหมายเสียเอง ประเด็นลักษณะเด่นของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สรุปได้ว่า มีลักษณะเด่นคือ อ่อนน้องถ่อมตน จงรักภักดี มีความรู้ มีประสบการณ์ เคร่งศาสนา มีคุณธรรม สมถะ เป็นนายทหารอาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต สุขุมรอบคอบ อดทน สู้งาน จริงจัง รักษาคำพูด และไม่นิยมความรุนแรง ประเด็นการจัดการกับเหตุวางระเบิด 9 แห่งในกรุงเทพมหานครในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 สู่ต้นปี พ.ศ. 2550 สรุปได้ว่าล้มเหลวในหารแก้ปัญหา จับตัวคนร้ายไม่ได้และขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สรุปได้ว่าบริหารงานเศรษฐกิจล้มเหลว ไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจ พอเพียงและแบงก์ชาติวางนโยบายผิดพลาด ประเด็นการแก้ไขปัญหาทางการเมืองของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สรุปได้ว่า บริหารงานด้อยประสิทธิภาพ ไม่ใส่ใจชนชั้นล่างและขาดชั้นเชิงในการสื่อสาร ประเด็นการแก้ไขปัญหายาเสพติด สรุปได้ว่า แก้ไขปัญหาไม่ได้ผล นายกฯ ไม่ควรพูดว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้และขาดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 1.2 ความสามารถในการปกครอง บุคลิกภาพ และพฤติกรรมทางการเมือง ประกอบด้วย การอนุมัติขึ้นเงินประจำตำแหน่งองคมนตรี รัฐบุรุษและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปได้ว่า เรื่องดังกล่าวได้ถูกวิจารณ์ว่ามีผล ประเด็นการซื้อที่ดินที่ไม่มีเอกสิทธิ์ สร้างบ้านพักตากอากาศบนเขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา สรุปได้ว่าประกอบด้วย ปฐมเหตุคดีเขายายเที่ยง รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน ป.ป.ช. ถูกวิจารณ์ว่าปฏิบัติงาน 2 มาตรฐาน โดยให้ความช่วยเหลือนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ส่วนประชาชนที่มีความผิดเหมือนกันกลับถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐจับดำเนินคดี นายกรัฐมนตรีเบี่ยงเบนประเด็นเพราะไม่ต้องการตอบคำถามผู้สื่อข่าวเรื่องเขายายเที่ยง ถูกสังคมสิพากวิจารณ์ในทางลบ เพราะทำผิดพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นทำให้บุญเก่าหด บารมีหาย 2. การจัดการข่าวสารทางการเมืองของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ สรุปได้ว่า มีการจัดการข่าวสารในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 การจัดการประเด็นการปฏิเสธ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า พล.อ. สุรยุทธ์ ปฏิเสธว่า ตนเองไม่เคยพูดว่า น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ เคยชวนให้ทำปฏิวัติสมัยที่ตนเองเป็นผู้บัญชาการทหารบกและปฏิเสธว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมายที่ดิน 2.2 การจัดการประเด็นการตอบคำถาม ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ใช้กลยุทธ์ให้คนอื่นชี้แจงแทนในสภาผู้แทนราษฎรและหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม ผู้สื่อข่าวทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและนอกห้องประชุมสภาฯ นอกจากนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ใช้กลยุทธ์นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว 2.3 การจัดการประเด็นเรื่องการขออภัย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวคำขอโทษประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การกระทำดังกล่าวนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย 2.4 การจัดการประเด็นการอ้างเหตุผลแก้ตัว ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ อ้างตนเองเป็นเพียงคนธรรมดา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1325
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_135.pdf23.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น