กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1323
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการรับสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbon และรูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ปฏิบัติงานที่รับสัมผัสสารในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Comparison of Aromatic Hydrocarbon Exposure and Life Style for Evaluation of Health Impact among Occupational Exposure Workers In Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ประกอบการ
สุขภาพ - - การประเมินความเสี่ยง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการเปรียบเทียบการรับสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbon และรูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ที่ปฏิบัติงานที่สัมผัสสารในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งตรวจวัดปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Aromatic Hydrocarbon ในบรรยากาศและ Metabolites รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตและอาการแสดง โดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษา มี 297 คน แบ่งเป้นกลุ่มศึกษา 227 คน และกลุ่มควบคุม 70 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 40.15 ปี และ 42.76 ปี สำหรับกลุ่มควบคุม กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักหรือประกอบอาชีพ นาน 8 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวันร้อยละ 89.5 และทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 34.8 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียง ร้อยละ 18.1 โดยส่วนใหญ่มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 79.5 และรู้จักอันตรายจากการสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbon เพียงร้อยละ 12.3 เท่านั้น รูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มศึกษา มีการรับประทานอาหารเช้าครบ 5 หมู่ และรับประทานผักทุกวัน (ร้อยละ 65.6, 16.3 และ 19.4 ตามลำดับ) มีการนอนหลับ น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 48.9 มีความเครียดที่ทำงานหรือจากการประกอบอาชีพ ร้อยละ 78.4 เมื่อสิ้นสุดการทำงานของกลุ่มศึกษา พบว่า ตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 60 ที่ตอบว่ามีการเจ็บป่วยและอาการแสดงที่เป็นบางครั้งรวมกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับเมื่อยล้าทั่วร่างกาย การรู้สึกเมื่อยล้าเฉพาะแขนขา ปวดศีรษะ รู้สึกหนักศีรษะ และไอ ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Organic Vapor Monitor (3< 2500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 562.53+-253.54 ug/m3, Xylene 1,241.27 +-273.39 ug/m3, Acetone 17.53+-58.66 ug/m3 และ Ethy1 benzene 488.62+-310.71 ug/m3 และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric 258.98+-284.13 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 5.69+-16.94 mg/g creatinine นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Aromatic Hydrocarbon (Toluene, Xylene และ Ethyl benzene) ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.008,<0.001 และ 0.028 ตามลำดับ) จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า กลุ่มศึกษามีการสัมผัสสาร Toluene, Xylene, Acetone และ Ethy1 benzene ในขณะทำงานและควรจัดให้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพและการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกัน รวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1323
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น