กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1320
ชื่อเรื่อง: การปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยหลักวินัย 5 ประการของ Peter Senge
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of small school by the 5 disciplines of Peter Senge
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: การปฏิรูป
สาขาการศึกษา
องกรค์แห่งการเรียนรู้
โรงเรียนขนาดเล็ก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยหลักวินัย 5 ประการของ Peter Senge 2) เปรียบเทียบความสำเร็จในเรื่องที่โรงเรียนเลือกพัฒนานักเรียน ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 3) เปรียบเทียบระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนระหว่างก่อนและหลังทดลอง และ 4) สอบถามความพึงพอใจของคณะครูต่อรูปแบบการปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยหลักวินัย 5 ประการของ Peter Senge กลุ่มตัวอย่างที่นำรูปแบบไปทดลองใช้และปรับปรุง คือโรงเรียนขนาดเล็กระดับมัธยม และประถมศึกษา 2 แห่ง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ถึงภาพเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินระดับระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยหลักวินัย 5 ประการของ Peter Sen ผลการวิจัย 1) ได้รูปแบบการปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยหลักวินัย 5 ประการของ Peter senge มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ให้ความรู้ความเข้าใจแก่คณะครู ขั้นที่ 2 ร่วมกันสร้างสานวิสัยทัศน์และเรื่องที่โรงเรียนต้องการพัฒนานักเรียน ขั้นที่ 3 วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัย ขั้นที่ 4 หาวิธีการแก้ไขและวิธีวัดและประเมินผล ขั้นที่ 5 ทดลองใช้วิธีการกับนักเรียน นำผลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผล วิเคราะห์และ ปรับปรุงวิธีการ แล้วนำไปทดลองวนซ้ำจนได้ผลพึงพอใจ และขั้นที่ 6 เผยแพร่ผลงาน โดยอาศัยการขับเคลื่อน 4 ประการ คือ สร้างความตระหนัก การกำกับติดตามอย่างจริงจัง แรงจูงใจ และเงื่อนไข และกำนดเป็นนโยบาย ผลการทดลองใช้รูปแบบกับโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง 2 แห่ง พบว่าไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ 2) ผลเปรียบเทียบความสำเร็จในเรื่องที่โรงเรียนเลือกพัฒนานักเรียน พบว่านักเรียนมีการพัฒนาสูงขึ้น 3) ผลเปรียบเทียบระดับการเป็นองค์การเรียนรู้ของโรงเรียนทั้ง 2 แห่งก่อนและหลังทดลอง พบว่าไม่แตกต่างกัน และ 4) คณะครูของโรงเรียนทั้ง 2 แห่งมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการปฏิรูปโรงเรียนขนาดเล็กด้วยหลักวินัย 5 ประการของ Peter Senge ในระดับ "มาก"
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1320
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น