กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1318
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:26Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:26Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1318
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพครูจำแนกตามสถาบันที่สำเร็จการศึกษา หลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงสุด สถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่อยู่ในปัจจุบัน เกรดเฉลี่ยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา และเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรด้านคุณลักษณะของครูที่มีต่อคุณภาพครูด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 379 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน และข้าราชการครู 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพครูตามสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำสายงาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และในสมรรถนะหลักตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับมาก ส่วนสมรรถนะประจำสายงานจากการปฏิบัติของครูอยู่ในระดับปานกลาง ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก ที่มีสถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่สอนอยู่ในปัจจุบันแตกต่างกัน คุณภาพของครูโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตามสมรรถนะหลักตามการรับรู้ของครูทั้งโดยรวมและรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสมรรถนะประจำสายงานจากการปฏิบัติ พบว่า คุณภาพของครูโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และเกรดเฉลี่ยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คุณภาพครูแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาสูงสุดที่แตกต่างกัน คุณภาพครูที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาที่แตกต่างกัน พบว่า คุณภาพครูแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรด้านลักษณะของครูสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพครูตามสมรรถนะหลักได้ร้อยละ 3.40 โดยเกรดเฉลี่ยของครูที่สำเร็จการศึกษามีอิทธิพลทางบวกกับคุณภาพครูตามสมรรถนะหลักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรด้านลักษณะของครูสามารถร่วมกันอภิปรายความแปรปรวนของคุณภาพครูตามสมรรถนะประจำสายงานได้ร้อยละ 3.90 โดย สถานศึกษาที่ครูปฏิบัติงานปัจจุบันที่ตั้งอยู่ในเมืองมีอิทธิพลทางลบกับคุณภาพครูตามสมรรถนะประจำสายงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพครูth_TH
dc.subjectสมรรถนะในการปฏิบัติงานth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการศึกษาคุณภาพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe Study of Teacher's Quality Under The Office of Basic Education Commission in Eastern Region: Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_178.pdf6.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น