กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1280
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว 2553 ต่อชนิดและความหลากหลายทางพันธุกรรมของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ (Symbiodinium spp.) ที่อาศัยอยู่ร่วมกับปะการังอ่อนสกุล Sinularia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรรศิน ปณิธานะรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ปะการังฟอกขาว
พันธุกรรม
สาหร่าย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในปี พ.ศ. 2553 ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณแนวปะการังของทะเลอันดามันและอ่าวไทย การฟอกขาว คือกระบวนการที่การอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างปะการังเจ้าบ้านและสาหร่ายซูแซนเทลลี่ (dinoflagellate ในสกุล Symbiosdinium) ยุติลง การอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างสาหร่าย Symbiodinium กับปะการัง มีความสำคัญต่อผลการผลิต การอยู่รอด และความสำเร็จในเชิงวิวัฒนาการของปะการังสาหร่าย symbiodinium ที่เกี่ยวข้องกับปะการังเจ้าบ้านจำแนกได้ 6 clade ตามความแตกต่างทางพันธุกรรม สาหร่ายแต่ละ clade มีการตอบสนองต่อความผันแปรของสิ่งแวดล้องระบบนิเวศ และสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไป ส่งผลต่อความยืดหยุ่นของปะการังต่ออุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและการฟอกขาว การศึกษานี้เป้นการสำรวจภาคสนามครั้งแรกถึงการเปลี่ยนแปลงของประชาคมสาหร่าย Symbiodinium ในอ่าวไทย เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 2 ปี ซึ่งร่วมช่วงเวลาของการเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 การตรวจสอบ clade และความหลากหลายของสาหร่าย Symbiodinium ที่อาศัยอยู่ในปะการังอ่อนสกุล Sinularia ใช้การวิเคราะห์ความผันแปรของยีน ribosomal large subunit 23S Domain V ในคลอโรพลาสต์ จากตัวอย่่างปะการังอ่อนสกุล Sinularia จำนวน 69 ตัวอย่่าง ซึ่งได้จากการเก็บตัวอย่างบริเวณเกาะจระเข้และหมู่เกาะจวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ใน 2 ช่วงเวลา คือ ก่อน (พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึง มกราคม พ.ศ. 2553, n=45) และหลัง (พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 n= 24) ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของประชาคมสาหร่าย Symibiodinium หลังปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวโดยก่อนหน้าการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว สาหร่าย Symbiodinium clade D ส่วนใหญ่ตรวจพบจากบริเวณเกาะจระเข้ และ clade C พบเป้นชนิดเด่นบริเวณหมู่เกาะจวง ตรงกันข้ามกับผลการศึกษาหลังการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่พบเฉพาะ clade D จากทั้งเกาะจระเข้และหมู่เกาะจวง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1280
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น