กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1262
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorณิษา สิรนนท์ธนาth
dc.contributor.authorจารุนันท์ ประทุมยศth
dc.contributor.authorจันทร์จรัส วัฒนะโชติth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1262
dc.description.abstractจากการศึกษาชนิดและปริมาณกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับสัตวืน้ำจากยีสต์ 6 ชนิด ที่คัดแยกจากน้ำทะเลบริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี จากแอคทีโนมัยซีท 20 ชนิด คัดแยกจากกินตะกอนในจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี นครศรีธรรมราช และจากแอคทีโนมัยซีทคัดแยกจากฟองน้ำทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ชนิด เมื่อเลี้ยงยีสต์ในอาหารเลี้ยงเชื้อ YM และอาหารกากชานอ้อยที่ความเค็ม 30 พีพีที เป็นระยะเวลา 120 ชม. พบว่ายีสต์ทุกชนิดมีการผลิตกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะยีสต์สายพันธุ์ BS 6-2 ที่เลี้ยงในอาหารกากชานอ้อย มีการสะสมกรดไขมันที่จำเป็นชนิด linoleic acid, C18:2n6 และ & -linolenic acid; C18:3n3 มากที่สุด โดยการเลี้ยงด้วยอาหารกากชานอ้อยมีปริมาณกรดไขมันชนิด C18:3n3 สูงกว่าการเลี้ยงด้วยอาหาร YM (7.63+-0.05% และ 5.92+-0.05%) ตามลำดับ แต่มีปริมาณกรดไขมันชนิด C18:2n6 น้อยกว่า (19.91+-0.21% และ 23.90+-0.94%) ตามลำดับ และเมื่อทำการเลี้ยงยีสต์สายพันธุ์ BS 6-2 ในอาการกากชานอ้อยที่มีความเค็ม 25, 30 และ 35 พีพีที เป็นเวลา 216 ชั่วโมงและเก็บตัวอย่างยีสต์วิเคราะห์กรดไขมันทุก 24 ชั่วโมง พบว่าการเลี้ยงในทุกระดับความเค็มเป็นระยะเวลา 72 และ 120 ชั่วโมง มีปริมาณกรดไขมัน C18:2n6 สูงสุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) โดยยีสต์ที่เลี้ยงมีความเค็ม 25 พีพีทีมีปริมาณกรดไขมันชนิด C18:2n6 สูงสุด (22.58+-1.24%) แสดงว่าระดับความเค็มที่ต่ำมีผลให้ยีสต์สายพันธุ์ BS 6-2 ที่เลี้ยงในอาการกากชานอ้อยผลิตกรดไขมันที่จำเป็นชนิด C18:2n6 ได้ดีขึ้น เมื่อทำการเลี้ยงแอคทีโนมัยซีทในอาหารเลี้ยงเชื้อ ISP-2 เป็นระยะเวลา 7-14 วัน พบว่าแอคทีโนมัยซีททุกชนิด ยกเว้น PL 2-2, PL 4-6 และ WN- POR-02-1 มีกรดไขมันอิ่มตัว plamitic acid; C16:0 เป็นองค์ประกอบหลักโดยพบในปริมาณสูงสุดประมาณ 22.9% สำหรับแอคทีโนมัยซีท PL 2-2, PL 4-6 และ WN-POR-02-1 มีกรดไขมันที่จำเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดC18:2n6 ในปริมาณสูงสุด โดยแอคทีโนมัยซีท PL 2-2 มีปริมาณของกรดไขมันที่จำเป็นชนิด C18:2n6 และ C18:3n3 สูงสุดเท่ากับ 37.38+-0.27% และ 4.07+-0.09% ตามลำดับ รองลงมาคือแอคทีโนมัยซิท PL 4-6 พบกรดไขมันชนิด C18:2n6 และ C18:3n3 เท่ากับ 36.26+-0.88% และ 2.75+- 0.14% ตามลำดับ สำหรับแอคทีโนมัยซิทที่คัดแยกจากฟองน้ำพบกรดไขมันที่จำเป็นชนิด C18:2n6 และ C18:3n3 เฉพาะในตัวอย่าง WN POR 02-1 ปริมาณ 28.61+-0.17% และ 2.02+-0.32%. ตามลำดับ The essential fatty acid profile and quantities found in a range of aquatic species were determined eithin the current study. These included six yeasts isolated from seawater collected at Bangsaen Beach, Chon buri, 20 actinomycetes isolated from mangrove sediments in Chanthaburi, Chon Buri and Nakhon Sri Thammarat and from two actinomycetes isolated from two marine sponges collected from Nakhon Sri Thammarat, Thailand. The yeasts were cultured in either yeast extract-malt extract (YM) media or in sugar cane bagasse (SCB) media containing 30 ppt salt for 120 h. All the yeasts were found to produce both saturated and unsaturated fatty acids. Of the yeasts, sample "BS 6-2" which was cultured in the SCB media had the highest concentrations of the essential fatty acids, linoleic acid (C18:2 n-6) and &-linolenic acid (C18:3 n-3). The levels of C18:3n-3 found in BS 6-2 in this media were higher than those found when cultured in YM mefia, i.e. 7.63+- versus 5.92+-0.05% respectively. The BA 6-2 yeast cultured in SCB media, however, contained a lower amount of C18: 2n-6 than that grown in YM media, i.e. 9.91+-0.21% versus 23.90+-0.94% respectively. The culture of BS 6-2 in SCB media containing either 25, 30 or 35 ppt salt were assessed every 24 h over a period of 216 h. In each culture, the C18:2 n-6 content was highest between 72 and 120 h, with levels in the 25 ppt media being slightly higher (22.58+-1.24%). All the actinomycete samples were cultured in an ISP-2 for a period of 7-14 days, after which the fatty acid composition of each was determined. The study found that the saturated fatty acid palmitic acid (C16:0) was the main component (approximately) 22.92%) in all but three actinomycete samples. The main component of the three exceptions, samples "PL 2-2", "PL 4-6" and "WN-POR 02.1", was the polyunsaturated fatty acid C18: 2n-6. The highest levels of C18: 2n-6 and C18: 3n-3 were founf in sample PL 2-2 (37.38+-0.27% and 4.07+-0.09%, respectively) and in sample PL 4-6 (36.26+-0.88% and 2.75+-0.14%, respectively). When the fatty acid composition of the actinomycetes isolated from the two marine sponges were analysed, high levels of C18: 2n-6 and C18: 3n-3, i.e. 28.61+- 0.17% and 2.02%+-0.32%, respectively, were found only in sample WN-POR 02-1.th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผ่านงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีวบประมาณ 2556en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกรดไขมันth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์ทะเลth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleศักยภาพของจุลินทรีย์ทะเล: แหล่งกรดไขมันชนิดจำเป็นth_TH
dc.title.alternativePotential of marine microbes: As the source of essential fatty acidsen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น