กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1258
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการกำจัดของเสียพลาสติกด้วยการฝังกลบและการนำกลับมาใช้ใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ยิ้มศิริ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การกำจัดขยะ
ขยะ
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ทำการประเมินวัฏจักรชีวิตของของเสียโพลีเอทีลีนที่เกิดจากกระบวนการผลิตขวดน้ำยาล้างจานขนาด 3800 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแห่งหนึ่ง วิธีกำจัดขยะพลาสติก 2 วิธี ได้แก่ การนำกลับมาใช้ใหม่และการฝังกลบ ถูกนำมาประเมินและเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ คุณภาพของระบบนิเวศวิทยา และการใช้แหล่งทรัพยากรโดยใช้โปรแกรมสำเร้จรูป SimaPro5.1 และวิธี Eco-Indicator99 และใช้มาตรฐานที่ของเสียโพลีเอทีลีน จำนวน 1 กิโลกรัม สำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่นั้น จะพิจารณาเริมจากขบวนบ่อยพลาสติกจนถึงการขึ้นรูปแบบเป่าขวด ในส่วนของการฝังกลบจะพิจารณาจากการขนส่งของเสียจากโรงงานไปยังสถานที่ฝังกลบจนถึงขบวนการฝังกลบ จากการประเมินผลพบว่ากระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากระบวนการฝังกลบด้านสารก่อมะเร็ง ภาวะโลกร้อน การลดลงของชั้นโอโซน ความเป็นพิษ การใช้พื้นที่และการใช้สินแร่ แต่ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามกลุ่มเป้าหมายแล้ว กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ช่วยลดผลกระทบต่สุขภาพมนุษย์และการใช้ทรัพยากรคิดเป็น 3.81 และ 228 mPt (milli Person per target year) แต่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ 4.53 mPt ซึ่งสูงกว่ากระบวนฝังกลบ 22 เท่า กระบวนการฝังกลบส่งผลมากที่สุดต่อสุขภาพมนุษย์ คิดเป็น 3.42 mPt รองลงมาคือการใช้ทรัพยากรและระบบนิเวศวิทยา คิดเป็น 1.1 และ 0.206 mPt ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ในเชิงคะแนนเชิงเดี่ยวแล้วพบว่า การนำกลับมาใช้ใหม่ของของเสียโพลีเอทีลีนสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการฝังกลบ 48 เท่า
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1258
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น