กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1235
ชื่อเรื่อง: การสะสมตัวของโลหะหนักในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเลในประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: bioaccumulation of heavy metals in marine mammals in Thai]s water
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณา ภาณุตระกูล
กาญจนา อดุลยานุโกศล
ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
โลหะหนัก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาปริมาณโลหะหนักในเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเลชนิดต่าง ๆ ที่พบเกยตื้นตามชายฝั่งของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลเกือบทุกชนิดมีการสะสมปรอบสูงที่สุดในตับ และมักจะพบค่าความเข้มข้นรองลงมาในไต ในขณะที่การสะสมแคดเมียมมักจะเกิดขึ้นในไตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลส่วนใหญ่ ยกเว้นในกรณีของพะยูน โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และโลมาปากขวดที่พบการสะสมแคดเมียม พบว่ามีค่าใสตับสูงกว่าในไต สังกะสีพบการสะสมสูงในตับ ไต และผิวหนัง ทองแดง พบการสะสมตัวสูงในตับ ไต และหัวใจ วาฬเพชนหาตดำซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลำดับของ trophic level สูงที่สุดในการศึกษานี้ เป้นสัตวืเลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่มีการสะสมปรอทในตัวพบสูงที่สุด พะยูน วาฬบรูด้า และวาฬโอมูรา ซึ่งเป้นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะลที่มีลำดับของ trophic level ต่ำที่สุด ก็เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลมีการสะสมปรอทในตับต่ำที่สุดด้วยเช่นกัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่มีการสะสมแคดเมียมในไตสูงที่สุด ได้แก่ โลมาฟันห่าง รองลงมาได้แก่ โลมาลายจุด โลมาลายแถบ โลมากระโดด โลมาปากขวด และพะยูน ส่วนวาฬเพชรฆาตดำซึ่งเป้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่มีค่าความเข้มข้นของปรอทลง กลับมีค่าความเข้มข้นของแคดเมียมค่อนข้างต่ำ โลมาหัวบาตรหลังเรียบ เป้นโลมาที่มีระดับเฉลี่ยของแคดเมียมต่ำที่สุดในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเลที่มีฟัน และกลุ่มของวาฬไม่มีฟัน (Baleen whale) เป็นกลุ่มที่มีค่าความเข้มข้นของแคดเมียมต่ำที่สุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลแต่ละชนิดมีช่วงของการสะสมสังกะสีและทองแดงที่กว้างมาก จึงไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การสะสมตะกั่วในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลจากน่านน้ำไทยมีระดับความเข้มข้นของตะกั่วต้ำในทุกอวัยวะ และไม่พบความแตกต่างของการสะสมตัวในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ระดับความเข้มข้นของดลหะหนักทุกชนิดยกเว้นทองแดงในตับของพะยูนมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อพะยูนมีขนาดความยาวลำตัวเพิ่มขึ้น ในโลมากระโดด และโลมาลายแถบพบระดับความเข้มข้นของปรอททและแคดมียมเพิ่มขึ้นค่าเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดความยาวลำตัวเพิ่มขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1235
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น