กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/123
ชื่อเรื่อง: การติดตามผลการมีงานทำระดับความพึงพอใจต่องานที่ทำของบัณฑิตและระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 ตามความเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The follow-up study of the graduates' employment conditions, level of the graduates' job satisfaction and level of the quality of work performance of the graduates of Faculty of Education of Burapha University in the academic year 2004 through the employe
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนะวัฒน์ วรรณประภา
มณเทียร ชมดอกไม้
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: กำลังคนระดับบัณฑิตศึกษา - - ไทย - - วิจัย
ความพอใจในการทำงาน - - วิจัย
บัณฑิต - - การจ้างงาน - - ไทย - - วิจัย
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การติดตามการมีงานทำ ระดับความพึงพอใจต่องานที่ทำของบัณฑิต และระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 ตามความเห็นของผู้ใช้บัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการมีงานทำ ระดับความพึงพอใจต่องานที่ทำของบัณฑิต และระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 ตามความเห็นของผู้ใช้บัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในปีการศึกษา 2547 จำนวน 325 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสำรวจการมีงานทำของบัณฑิตและแบบสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิตแบบมีโครงสร้าง วิธีการที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือการให้บัณฑิตที่มาฝึกซ้อมเพื่อเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในปีพ.ศ. 2548 กรอกข้อมูลลงในแบบสำรวจการมีงานทำและการจัดส่งผู้ช่วยนักวิจัยเดินทางไปสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต ณ สำนักงานของผู้ใช้บัณฑิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีงานทำของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2547 มีดังนี้ 1.1 บัณฑิตร้อยละ 90.79 ไม่ว่างงาน และร้อยละ 9.21 ว่างงาน โดยบัณฑิตร้อยละ 82.52ได้งานทำใน 1 ปี ร้อยละ 7.69 ประกอบอาชีพอิสระ และร้อยละ 9.79 ศึกษาต่อ บัณฑิตสาขาวิชาที่ไม่ว่างงานคิดเป็นร้อยละ 100 ได้แก่ บัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ภาษาไทย และ คณิตศาสตร์ และบัณฑิตสาขาวิชาที่ไม่ว่างงานน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.43 ได้แก่ บัณฑิตสาขาสังคมศึกษา 1.2 บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ได้งานทำใน 1 ปีมากที่สุด และบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษา ได้งานทำใน 1 ปี น้อยที่สุด 1.3 บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาประกอบอาชีพอิสระมากที่สุดและสาขาวิชาชีววิทยา ฟิสิกส์ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และการประถมศึกษาไม่มีบัณฑิตที่ประกอบอาชีพอิสระ 1.4 บัณฑิตสาขาวิชาเคมีศึกษาต่อมากที่สุด และสาขาฟิสิกส์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา ไม่มีบัณฑิตที่ศึกษาต่อ 1.5 ส่วนใหญ่บัณฑิตร้อยละ 45.71 ทำงานในสถานประกอบการ รองลงมา ได้แก่ ร้อยละ 42.29 มำงานในสถานศึกษา และร้อยละ 7.43 ทำงานในหน่วยงานราชการ และที่น้อยที่สุดได้แก่ ร้อยละ 4.57 ทำงานในโรงพยาบาล 1.6 บัณฑิตส่วนใหญ่ร้อยละ 57.14 ทำงานอยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด และร้อยละ 42.86 ทำงานอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ 1.7 บัณฑิตส่วนใหญ่ร้อยละ 41.15 ใช้เวลาหางานทำประทาน 1 เดือน และน้อยที่สุด คือ บัณฑิตร้อยละ 1.91 ใช้เวลาในการหางานทำน้อยกว่า 1 เดือน 2. ความพึงพอใจต่องานที่ทำของบัณฑิตที่สำเร็จศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.20 พึงพอใจต่องานที่ทำในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ร้อยละ 43.30 พึงพอใจระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 4.20 พึงพอใจในระดับน้อย 3. ระดับคุณภาพปฎิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษษจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2547 ตามความเห็นของผู้ใช้บัณฑิต มีดังนี้ 3.1 ระดับคุณภาพการปฏิบัติงานรของบัณฑิตโดยรวมจัดอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยตามระบบคะแนนเต็มเทียบ 10 เท่ากับ 8.46 คุณภาพการปฎิบัติงานของบัณฑิต 12 ด้าน อยู่ในระดับดีมาก คุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิต 4 ด้าน จัดอยู่ในระดับดี ด้านที่ได้คะแนนระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของบัณฑิตสูงสุดคือ ด้านความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ และด้านที่ต่ำกว่าทุกด้าน คือ ด้านการนำความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษไปใช้ในการปฏิบัติงาน 3.2 คุณภาพการปฏิบัติงานอื่น ๆ ของบัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอื่น ๆ ของบัณฑิตดังนี้ 3.2.1 เหตุผลสำคัญที่ผู้ใช้บัณฑิตเลือกบัณฑิตเข้าทำงาน คือ จะเลือกบัณฑิตที่มีประสบการณ์ คือ เคยไปฝึกสอนฝึกงานที่หน่วยงานมาก่อน หรือเคยทำโครงการหรือโครงงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในระหว่างการเรียน 3.2.2 ผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่าบัณฑิตปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/123
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น