กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/110
ชื่อเรื่อง: การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดบริการสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุขเขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The survey of population's opinions toward health care services in public health region III
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
วสุธร ตันวัฒนกุล
วิไล สถิตย์เสถียร
พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ
เอมอร ประจวบมอญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: บริการการพยาบาล
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
บริการทางการแพทย์
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2543
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง เพื่อการศึกษาประสบการณ์การใช้บริการ การมีบัตรสวัสดิการหรือการประกันสุขภาพ และความคิดเห็นในการจัดบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ในเขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทน จำนวน 1,000 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากจังหวัดต่าง ๆ ในเขต 3 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการหาความตรงและทดลองใช้แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และการทดสอบค่าไคกำลังสอง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนเคยไปใช้บริการและเคยพาคนอื่นไปใช้บริการของสถานบริการระดับจังหวัด มากกว่าระดับอำเภอ และตำบล โดยเคยใช้มากกว่าร้อยละ 50 และมากกว่าร้อยละ 40 ตามลำดับ เคยไปใช้บริการสถานบริการนอกเขตบ้างน้อยกว่าร้อยละ 15 ครอบครัวของประชาชนมีบัตรสุขภาพ ร้อยละ 30.50 มีบัตรเด็กร้อยละ 25.40 และมีบัตรผู้มีรายได้น้อยเพียงร้อยละ 1.7 ประชาชนที่มีบัตรสวัสดิการหรือการประกันสุขภาพ มีความเห็นว่าสิ่งที่ดีมากที่สุดสำหรับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับคือ เดินทางไปสะดวกและใช้เวลาเดินทางน้อย สิ่งที่ดีมากคือ สถานบริการสะอาดและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี สิ่งที่ดีปานกลางคือ ค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษา และการส่งไปรักษาต่อ เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบว่าผู้ที่มีบัตรฯ มีความเห็นแตกต่างจากผู้ที่ที่ไม่มีบัตรฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ในเรื่องความทันสมัยของเครื่องมือ ค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษา การส่งต่อ ขั้นตอนการรับบริการ และเวลารับบริการ ประชาชนทุกระดับการศึกษามีความเห็นว่าสิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานีอนามัยคือ การใช้เวลารอรับบริการน้อย ขั้นตอนการรอรับบริการไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเดินทางไปรับบริการน้อยและสะดวก สถานที่สะอาด สิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานบริการระดับจังหวัดคือ เดินทางไปสถานบริการสะดวก แพทย์มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ <0.05 คือ ผู้ที่มีการศึกษาน้อยมีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้ที่มีการศึกษาสูงในบริการของสถานบริการระดับจังหวัดคือ เรื่องค่ารักษา การเลี้ยงไข้ มนุษย์สัมพันธ์ของพยาบาลและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมโดยรอบสถานบริการ ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างต่อโรงพยาบาลชุมชน คือการรักษาหาย การส่งไปรักษาต่อ และความสะอาดของโรงพยาบาล และความคิดเห็นที่แตกต่างต่อสถานีอนามัย คือ มนุษย์สัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ ประชาชนทุกระดับรายได้ มีความเห็นว่าสิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานีอนามัยคือ การใช้เวลารอรับบริการน้อย ขั้นตอนการรอรับบริการไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเดินทางไปรับบริการน้อยและสะดวก สถานที่สะอาด เจ้าหน้าที่มนุษย์สัมพันธ์ดี และสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี สิ่งที่ดีมากสำหรับโรงพยาบาลชุมชนคือ แพทย์มีมนุษย์สัมพันธ์ดีสถานที่สะอาดและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี สิ่งที่ดีมากที่สุดและดีมากสำหรับสถานบริการระดับจังหวัดคือ เดินทางไปสถานบริการสะดวก พยาบาลและเจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เครื่องมือที่ใช้ทันสมัย สถานที่สะอาดและสิ่งแวดล้อมโดยรอบดี เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 คือ ผู้ไม่มีหนี้สินมีความคิดเห็นต่อสถานบริการระดับจังหวัดแตกต่างจากผู้มีหนี้สินในเรื่องค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษาและเวลาเดินทางไปรับบริการ ส่วนความคิดเห็นที่แตกต่างต่อโรงพยาบาลชุมชนคือค่ารักษา คุณภาพยา ผลการรักษา และเครื่องมือทันสมัย ดังนั้นจึงควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ประเด็นความคิดเห็นดังกล่าวประกอบในการแก้ไขปัญหา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/110
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2543_002.pdf5.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น