กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1105
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์ในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงตามแนวชายแดนไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of mosquito borne disease and strategies for protection in the border cultures of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประภา นันทวรศิลป์
Ronald A. Markwardt
พัตรา สุนทรฐิติเจริญ
อาดูลย์ มีพูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ยุง - - การป้องกันและควบคุม
ยุงพาหะนำโรค
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัญหาพื้นฐานทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญบริเวณตามแนวชายแดน คือ โรคระบาดประจำถิ่นที่เกิดจากแมลงพาหะ กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเคลื่อนย้ายถิ่น โครงการการพัฒนาต่างๆทำให้คนเหล่านี้ เข้าสู่ห่วงโว่ของการติดต่อมาลาเรีย ซึ่งมีความสำคัญที่ต้องการการศึกษาต่อไป รวมถึงความต้องการในการออกแบบให้สุขศึกษาทางด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เกิดจากยุง การที่จะพัฒนาให้สุขศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยจึงจำแนกพฤติกรรมออกเสี่ยงและจำแนกพฤติกรรมการป้องกันที่เหมาะสมกับกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆตามแนวชายแดนไทยพม่า กัมพูชาและมาเลเซีย ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้วิเคราะห์เก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมยุงเก็บรวบรวมโดยวิธีใช้เก็บโดยการเกาะพักทั้ง 3 ฤดู ใน 3 พื้นที่คือ กาญจนบุรี ตราดและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้การพรรณนาข้อมูลได้จากการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมยุงและการตรวจชนิดของเชื่อมาลาเรียในยุงโดยวิธี PCR จากการวิจัยพบว่ากลุ่มต่างวัฒนธรรมกลุ่มย่อยๆหรือกลุ่มที่กระจายอยู่ตามชายแดน เสี่ยงต่อโรคเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อนำโดยแมลง เราได้ค้นหาเงื่อนไขต่างๆที่จะนำไปสู่การสัมผัสเชื้อและค้นหาว่าประชาชนกำลังป้องกันยุงกัดอย่างไร เราเก็บข้อมูลการปรับตัวของยุงต่อสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นแหล่งพันธุ์ เวลาการหาเหยื่อ สถานที่เกาะพัก อุณหภูมิ และรูปแบบของการกัดของยุงที่มีความสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างยุงและเชื้อ สามารถนำมาอธิบายความสัมพันธ์ของการจำเพาะเจาะจงต่อสิ่งแวดล้อม งานครั้งนี้รายงานการจับและการจำแนกชนิดของยุงที่นำเชื้อมาลาเรีย ในพื้นที่การระบาดประจำถิ่น ในช่วงฤดูแล้ง การจับยุงโดยใช้คนเป็นเหยื่อทำใน 3 พื้นที่คือ ตราด กาญจนบุรี ยะลานราธิวาสและปัตตานี พบ Sporozoites จากต่อมน้ำลายยุงก้นปล่องในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตราดและบ้านชุมชนกะเหรี่ยง จังหวัดกาญจนบุรี ผลของชนิดของเชื้อที่พบมีความสอดคล้องกับผู้ติดเชื้อและการพบเชื้อในการค้นหาเชิงรุกจากหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งเป็นชนิด Plasmodium vivax การจับยุงในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นยุง Mansonia bonneae, Mansonia Indiana และยุง Cluex quinquefasciatus ยุ่งเหล่านี้เป็นพาหะนำเชื้อโรคเท้าช้างและไข้สมองอักเสบ การจับยุงเหล่านี้สอดคล้องกับพื้นที่เป็นลักษณะป่าพรุ มีน้ำขังตลอดทั้งปีรอบๆหมู่บ้าน ทุกๆพื้นที่การวิจัยมีการรายงานโรคไข้เลือดออก และได้ทีการสังเกตสถานการณ์ไข้เลือดออกด้วย หลังจากที่มีการจำแนกยุงก้นปล่องชนิดต่างๆแล้ว จะทำการผ่าต่อมน้ำลายยุงเพื่อหาชนิดของเชื้อมาลาเรียโดยวิธี PCR เราพบยุง 5 ชนิด An. dirus, An, mimimus, An. maulatus และ An. เป็นครั้งที่ 2 ร้อยละ 85 ผลการตรวจ species จาก sporozoite พบ 1 ใน 40 ตัว (An. dirus) จากยุงที่บ่อไร่ ตราดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และเดือนกันยายน 1 ใน 12 ตัว (An. dirus) และการตรวจจากยุง An. acontus 2 ใน 8 ตัว ในตำบลห้วยเขย่ง จังหวัดกาญจนบุรีพบ positive ของ P.vovax จากการทดลองจะเห็นได้ว่าการติดเชื้อในยุงช่วงฤดูแล้งยังเป็นการเสี่ยงสำหรับประชาชนในพื้นที่ในการติดเชื้อมาลาเรีย ถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูแล้งก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพค้นพบและอธิบายพฤติกรรมของคนและกิจกรรมต่างๆของคนที่จะป้องกันการสัมผัสโรคติดต่อจากยุง เราสังเกตเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้นระหว่างประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงในบ้านไร่ป้า กาญจนบุรีมากกว่าบ่อไร่ ในหมู่บ้านไร่ป้า กาญจนบุรีและตราดจะพยายามหลีกเลี่ยง ป้องกันยุงเนื่องจากก่อความรำคาญตอนหัวค่ำ น้อยมากที่จะป้องกันตอนกลางวัน และตอนกลางคืนและขณะนอนหลับ หรือแม้กระทั่งคนทำงานการป้องกันยุงเพียงเพื่อเหตุผลไม่ให้ยุงกัดแต่ไม่ใช่เสี่ยงต่อติดเชื้อ การควบคุมยุงสาธารณะมีประสิทธิภาพน้อยมากในการลดอัตราการเกิดโรคจากยุง ดังนั้นเราควรให้ประชาชนรับผิดชอบตนเอง การควบคุมสาธารณะมีประสิทธิภาพน้อยมากในการลดอัตราการเกิดโรคจากยุง ดังนั้นเราควรให้ประชาชนรับผิดชอบตนเองในการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ตนเองเป็นการยับยั้งการติดต่อและการแพร่เชื้อ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมการสวมเสื้อผ้ามิดชิดให้เหมือนกับการใช้มุ้งและยาทากันยุงเพื่อป้องกันยุงกัด การใช้วัคซีนยังต้องรออีกนาน การหันมาใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายราคาถูกจะดีกว่า และดีกว่าการใช้ยาและรอของจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1105
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_163.pdf5.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น