กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1100
ชื่อเรื่อง: ผลของการออกกำลังกายแบบปะฐะโยคะที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง ของภาวะความเครียดด้านร่างกายและจิตใจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effects of Hatha Yaga Exercise on Physical and Mental Stress Reduction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
คำสำคัญ: การบริหาร
โยคะ (กายบริหาร)
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เทคนิคการผ่อนคลายต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่า มีผลต่อความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะที่มีต่อกรเปลี่ยนแปลงของภาวะความเครียดด้านร่างกาย (ศึกษาจากค่าเฉลี่ยของอัตราการหายใจ อัตราชีพจร ความดันโลหิต ความจุปอด แลความอ่อนตัว) และด้านจิตใจ (ศึกษาจากค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดระดับความวิตกกังวล แบบเอ-สเตท (A-Sate Anxiety test) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงที่อาสาสมัครเข้าร่วมในการวิจัย ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 28 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 14 คน นำกลุ่มตัวอย่างไปทำการทดสอบหาค่าระดับความเครียดด้านร่างกายและด้านจิตใจ กลุ่มทดลองทำการฝึกออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะวันละ 1 ชั่วโมง ปรกอบด้วยการอบอุ่นร่างกาย การปฏิบัติท่าอาสนะ และการนวด เป็นเวลา 3 วัน ต่ออาทิตย์ ทำการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ แล้วทำการทดสอบระดับความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกับก่อนการเริ่มต้นทดลอง นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไปวิเคราะห์หาค่าทางสถิติโดยใช้ T-Test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบภาวะความเครียดด้านร่างกายและจิตใจก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดลองภาวะความเครียดด้านร่างกายและจิตใจระหว่างก่อนการทดลองแลภายหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะมีผลต่อระดับความเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการฝึกออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะมีความอ่อนตัว (t = 3.31,p < .01) และมีระดับความเครียด (t = 4.36, p < .001) แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้าน อัตราการหายใจ อัตราชีพจร และความดันโลหิต ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจภายในกลุ่มของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบความจุปอด ความอ่อนตัว และระดับความเครียด มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ผลจากการวิจัยจึงถูกนำมาอภิปรายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มความสามารถของร่างกายให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น