กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1079
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: factors Related to Depression Among Older Adults
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา พิบูลย์
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
Bonnie Callen
เวธกา กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
คนึงนิจ อุสิมาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ (Correlation Study Designs) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกจำนวน 524 คน สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาเรื่องภาวะสมองเสื่อมหรือความจำเสื่อมโดยผู้สูงอายุประเมินความจำเสื่อมหรือการเสื่อมของสมองตามแบบประเมิน Chula Mental Test (CMT) และยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว แบบสัมภาษณ์ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Chula ADL) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม (PRQ-85) แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน (PSS) แบบสัมภาษณ์ความว้าเหว่ (The Loneliness Scale) และแบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) และสเปียร์แมน (Spearman rho Correlation) และสมการพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อยร้อยละ 51.7 รองลงมามีระดับภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 22.1 และรุนแรงร้อยละ 8.6 ตามลำดับและมีเพียงร้อยละ 17.6 ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม รายได้และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = -.252, -.405, -.163, -.307 ตามลำดับ p < .01) ในขณะที่ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว ความว้าเหว่และการรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = .260, .537, .471 ตามลำดับ p < .01) นอกจากนี้ยังพบว่า ความว้าเหว่ การรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเป็นปัจจัยที่ร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 49.6 (R2 = .496, P<.01) โดยความว้าเหว่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด รองลงมาได้แก่ การรับรู้ภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน การสนับสนุนทางสังคม ประวัติภาวะซึมเศร้าในครอบครัว การรับรู้ภาวะสุขภาพ และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (Beta) = .341, .217,-.205,.177,-.142 และ -.142 ตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1079
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_106.pdf11.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น