กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1072
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorผ่องศรี เกียรติเลิศนภา
dc.contributor.authorเรณา พงษ์เรืองพันธุ์
dc.contributor.authorรัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
dc.contributor.authorอาภา หวังสุขไพศาล
dc.contributor.authorภรณี พวงแก้ว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.issued2538
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1072
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการทดลองใช้การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาทางการพยาบาล เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาก่อนและหลังการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ในระยะเวลาที่มีการทดลอง 6 สัปดาห์ สำหรับนิสิตพยาบาลปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 60 คน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสมกับพฤติกรรมการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์ค่าที (t-test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตหลังการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก สูงกว่าก่อนการเรียนทั้งในนิสิตกลุ่มใหญ่ และในกลุ่มย่อย ที่มีเกรดเฉลี่ยระดับสูงและระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p< .001) อย่างไรก็ตามความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตก่อนและหลังการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับเกรดเฉลี่ยสะสมของนิสิตมีความสัมพันธ์ทางบวก กับคะแนนพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือนิสิตที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมสูงจะมีพฤติกรรมการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสูงด้วย ความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ในภาพรวมเป็นไปในทางที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับทักษะในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก มีความเหมาะสมในการนำไปใช้สอนในบางรายวิชาทางการพยาบาลเท่านั้น ประโยชน์ที่นิสิตได้รับหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ได้แก่ การเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน การเพิ่มการเตรียมตัวก่อนเข้าชั้นเรียน การกล้าแสดงความคิดเห็นและถามคำถาม การฝึกการคิดแก้ปัญหา และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสามารถเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิต แต่ไม่เพิ่มความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งนิสิต อาจารย์ มีความเห็นพ้องกันว่าวิธีการจัดการเรียนการสอนควรได้รับการปรับปรุง ได้แก่ (1) ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนความมีระยะยาวกว่า 6 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถสอนได้ครอบคลุมเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้น (2) จำนวนนิสิตมีมากเกินไป ไม่สมดุลกับทรัพยากรที่คณะพยาบาลศาสตร์มีอยู่ เช่น ตำรา สถานที่ เอกสารการสอนต่างๆ (3) เนื้อหาในการสอน และวิธีการประเมินผลควรได้รับการปรับปรุง เช่น เพิ่มการสอนในด้านความคิดวิจารณญาณ วัดจุดเด่นและจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักth_TH
dc.description.sponsorshipงบประมาณรายได้ มหาวิทยาลัยบูรพา สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ภาคตะวันออกen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการพยาบาลth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectพยาบาลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการทดลองใช้การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาทางการพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeThe Experiment of Problem-Based Learning in Nursing Courseen
dc.typeResearch
dc.year2538
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to evaluate the effectiveness of Problem-Based Learning (PBL) as an educational approach to training student nurses. Tests of critical thinking and problem solving ability were given to 60 fourth year nursing students at Burapha University before (pre) and after (post) 6 weeks of PBL instruction in addition to measures of critical thinking and problem solving, data were gathered on grade point average, behavioral learning, and students’ opinions about PBL as an educational approach. The results of analysis of variance, t-tests, and correlations revealed a significant (p< .001) improvement in the nursing students’ problem solving ability from pre- to post-PBL training. However, Problem-Based Learning did not significantly improve the student’s critical thinking abilities. Finally, there was a positive relationship between the nursing student’s grade point average and learning behavior. Student who had a high grade point average were significantly (p <.01) different from moderate grade point average students in their attitudes and learning behavior. The overall evaluation of problem-Based Learning is positive especially for teaching specific problem solving skills, however the PBL approach may only be appropriate for some nursing subjects. The advantages of PBL are increased student motivation, degree of preparation for class, willingness to ask question or express an opinion, and independent learning. PBL instruction can significantly improve students’ problem solving abilities, but does not increase critical thinking. Nursing students and instructors agree that PBL methods need to be improved: (1) The course should be longer than 6 weeks to adequately cover the amount of course material, (2) The number of students in the course was too larger for the Faculty of Nursing resources, e.g. texts, space, instructional materials, (3) The course content and method of evaluation needs to be improved, e.g. more instruction on critical thinking, to measure the strengths and weaknesses of Problem-Based Learning.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น