กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1067
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญรอด บุญเกิด
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1067
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชนของพระสงฆ์จังหวัดชลบุรี เป็นรายด้าน และเปรียบเทียบระดับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู้ชุมชนของพระสงฆ์จังหวัดชลบุรี จำแนกตามอายุพรรษา และฐานะของพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายในจังหวัดชลบุรี จำนวน 336 รูป ได้มาโดยวิธีการสุ่มจากประชากรแบบแบ่งชั้นภูมิตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำหรับวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชนของพระสงฆ์ จังหวัดชลบุรี มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 38 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25-.88 c และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. พระสงฆ์ในจังหวัดชลบุรี มีระดับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้ความรู้แก่ประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระดับมาก ด้านการช่วยคิดและแก้ปัญหาสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการเป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง 2. พระสงฆ์ที่อายุพรรษาต่างกัน มีระดับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพระสงฆ์ที่อายุพรรษาเกิน 10 พรรษาขึ้นไปมีระดับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชนมากกว่าพระสงฆ์ที่อายุพรรษาไม่เกิน 5 พรรษา และพระสงฆ์ที่อายุพรรษาเกิน 5 พรรษา แต่ไม่เกิน 10 พรรษา 3. ระดับการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชนของพระสงฆ์ จังหวัดชลบุรี จำแนกตามฐานะของพระสงฆ์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพระสงฆ์ที่มีฐานะเป็นพระลูกวัด ยกเว้นด้านการเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2553en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการรับรู้ตนเองth_TH
dc.subjectจริยธรรมth_TH
dc.subjectสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.titleการรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชน ของพระสงฆ์จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeBuddhist Monks' Self A wareness on Social Responsibility in Leading Ethics to the Community in Chonburien
dc.typeResearch
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the level of Buddhist monk’s self awareness on social responsibility in leading Ethics to the community in Chonburi, and to compare the level of Buddhist monk’s self awareness on social responsibility in leading ethics to the community in Chonburi classified by the length of periods in monkhood, and monk’s ranks. The samples were the 366 Buddhist monks from Mahanikaya in Chonburi. Stratified random sampling was used. The equipment used in this research was the questionnaire on the level of Buddhist monk’s self awareness on social responsibility in leading ethics to the community in Chonburi. The questionnaire consisted of 38 items. The item discrimination ranged from .25-.88. The reliability of the questionnaire was .96. The statistic tools used were mean, standard deviation, One-way ANOVA, and t-test The results revealed as follows 1. The Buddhist monks in Chonburi had the level of self awareness on social responsibility in leading ethics to the community in Chonburi as a whole in high level. When it was in moderate level, the aspect of being a role model was in high level, the aspect of solving social problems and aspect of mental sanctuary was in moderate level. 2. The Buddhist monks with different length of the periods of monkhood gained different level of self awareness on social responsibility in leading ethics to the community in Chonburi as a whole and by aspect with the statistical of.05. The Buddhist monkhood for more than 10 year have higher level of self awareness than those who have been in monkhood for less than 5 year, and those who have been in monkhood up to 5 years but less than 10 years. 3. The levels of Buddhist monks’self awareness on social responsibility in lending ethics to the community in Chonburi were different with the statistical significance of .05, when the monks were classified by monk’s ranks as a whole and by aspect. The Buddhist monks ranked as abbots have higher awareness than the monks ranked as subordinates. However, the aspect of being a role model gained the difference without the statistical significance.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_069.pdf3.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น