กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1047
ชื่อเรื่อง: โครงการจัดทำแผนระยะยาว ภาคประชาชนและท้องถิ่น (พื้นที่ภาคตะวันออก)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: การวางแผนการศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาการศึกษา
อุดมศึกษา - - การวางแผน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เนื่องจากแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว (2533-2547) ได้หมดอายุลง ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัตน์ สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป รวมทั้งบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย การอุดมศึกษาไทยมีวิวัฒนาการไปมาก ดังนั้นการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาวไว้รองรับสถานการณ์ต่อไปที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบ สมควรที่จะต้องระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน มาเป็นข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษา ระยะยาว ให้มีประสิทธิภาพและสนองตอบต่อการพัฒนาระดับท้องถิ่นและประชาชาติให้มากที่สุด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีเครือข่ายบริหารงานวิจัย จำนวน 8 เครือข่าย ที่ดำเนินการครอบคลุมทั่วประเทศอยู่ ซึ่งมีการรวมตัวโดยสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำเนินการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเศรษฐกิจฐานราก มาเป็นเวลานานพอสมควร มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานวิจัยและนำผลงานวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาทั้งในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ จึงได้ระดมสรรพกำลังของเครือข่ายบริหารงานวิจัย ช่วยรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนเพื่อใช้ในการจัดทำแผนระยะยาวต่อไป สำหรับเครือข่ายบริหารงานวิจัยภาคกลางตะวันออกซึ่งมีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นแม่ขายได้ออกทำการเก็บข้อมูลจาก 3 เขตพื้นที่ใน จังหวัดชลบุรี และ 1 เขตพื้นที่ ในจังหวัดระยอง การเก็บข้อมูลนั้นใช้กระบวนการสนทนากลุ่มกับการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบ ตามประเด็นที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนแล้วซึ่งประกอบไปด้วย การอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ข้อเสนอแนะวิธีการที่จะให้มีการอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน อาทิ การศึกษาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ความร่วมมือของคนในชุมชน และสุขภาพอนามัย บทบาทของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาควรมีส่วนร่วมอย่างไร รวมทั้งความคาดหวังในอนาคต 10-15 ปีที่ทางชุมชนอยากจะเห็นหรือได้จากมหาวิทยาลัย เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า ชุมชนอยากจะให้ผลิตบัณฑิตหรือพัฒนาบุคคลให้เป็นคนที่มีจิตสาธารณะ สามารถออกไปประกอบวิชาชีพได้ดีและสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับงานได้ดี มีจริยธรรมที่ดี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือมุ่งสู่การพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางนั่นเองมหาวิทยาลัยควรเป็นที่พึ่งในด้านให้การปรึกษาและฝึกอบรมอาชีพให้กับชุมชน ไม่่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมระยะสั้นหรือระยะยาวมหาวิทยาลัยควรนำผลการวิจัยต่อยอดช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยช่วยวิจัยหาค่าเกณฑ์มาตรฐานสำหรับประเทศไทยก่อนที่จะปล่อยกากสารพิษออกสู่สิ้งแวดล้อมเป็นการช่วยในการเฝ้าระวังไปในตัว ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งสามารถนำผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์เข้าสู่เชิงพาณิชย์และภาคอุตสาหกรรมได้ มหาวิทยาลัยควรมีส่วนร่วมช่วยในการยกระดับการศึกษาแก่คนในชุมชนที่ว่างงาน หรือไม่ได้รับการศึกษาที่ปะปนอยู่เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1047
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น