กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1028
ชื่อเรื่อง: สภาพจิตสังคมจากการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียของประชากรวัยเจริญพันธุ์ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Psychosocial Aspect from Thalassemia Screening Test of Reproductive People in Tambon Tungsukhla, Si Racha District. Chon Buri Province.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
แอนนา สุมะโน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การตรวจคัดกรอง
ธาลัสซีเมีย
โรคโลหิตจาง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพจิตสังคมของประชากรวัยเจริญพันธุ์ผู้รับการตรวจคัดกรองดรคเลือดจางะาลัสซีเมีย การวิเคราะห์องค์ประกอบและความแตกต่างตามปัจจัยที่คัดสรร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรวัยเจริญพันธุ์ในตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 174 คน ที่ผ่านการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียจากโรงพยาบาลชุมชน ได้รับผลการตรวจคัดกรองและการให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวโดยแพทย์เฉพาะทางกุมารเวช ซึ่งสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากรายชื่อผู้มารับฟังผลการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในวันที่ทางโรงพยาบาลกำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองในห้องที่จัดให้อย่างอิสระ แบบสอบถาม ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล และความรู้สึกหลังทราบผลการตรวจคัดกรอง เครื่องมือที่สร้างขึ้นจากการสัมภาษณ์เบื้องต้นผู้เคยตรวจคัดกรอง 10 คน ได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรง ทดสอบค่าความเชื่อมั่นจากวิเคราะห์องค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า อยู่ระหว่าง .845-.964 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) และการทดสอบค่าแมนวิทนี ยู (Mann-Whitney U test) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีผลการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นพาหะของโรค ร้อยละ 35.1 และเป็นโรคร้อยละ 1.7 สภาพจิตสังคมในกลุ่มที่เป็นพาหะและเป็นโรคมีความรู้สึกตกใจ สงสัย วิตกกังวล โล่งงอก ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นต่อตนเองหรือสุขภาพของตนเองว่าแข็งแรงระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มปกติมีความรู้สึกโล่งอกในระดับปานกลาง มีความรู้สึกตกใจ สงสัย กลัวและวิตกกังวล ในระดับเล็กน้อย ความคิดเห็นต่อตนเองหรือสุขภาพของตนเองว่าแข้งแรงระดับมาก วิเคราะหืองค์ประกอบพบว่า ประเด็นจิตสังคมมีน้ำหนักในองค์ประกอบ (Factor loading) ที่เด่นชัดอยู่ 3 องค์ประกอบ สามารถอธิบายสภาพจิตสังคมของผู้รับการคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 68.08 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 1 "ความรู้สึกไม่ดีต่าง ๆ" จำนวน 13 ประเด็น องค์ประกอบที่ 2 "สุขภาพตนเองไม่ดี" จำนวน 7 ประเด็น และองค์ประกอบที่ 3 "ท้อแท้เศร้าสร้อย" จำนวน 3 ประเด็น ผลการเปรียบเทียบพบว่ากลุ่มที่เป็นพาหะและเป็นโรค มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นในทุกองค์ประกอบแตกต่างกับกลุ่มปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 ผู้ที่ตรวจคัดกรองเป็นพาหนะและเป็นโรคเพศชายและหญิง และผู้มีสถานภาพสมรสโสดและคู่ มีสภาพจิตสังคมแต่ละองค์ประกอบไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ: กลุ่มที่เป็นพาหะและกลุ่มที่ป่วยแม้จะมีความรู้สึกทางสภาพจิตสังคมบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียในประชากรวัยเจริญพันธุ์ยังถือว่ามีความสำคัญ โดยต้องมีการให้ความรู้และคำปรึกษาไม่เฉพาะแต่ก่อนดำเนินการ และเมื่อทราบผลการตรวจคัดกรอง แต่รวมทั้งหลังทราบผลการตรวจคัดกรองด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1028
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_066.pdf4.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น