กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1010
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของประชาคมสัตว์หน้าดินและแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายฝั่งชุมชนบ้านบางสะเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Succession of benthods and phytoplankton communities at Ban Bang Sa Kao coast, Laem Singh, Chanthaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล
ชลี ไพบูลย์กิจกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
นิเวศวิทยาป่าชายเลน
บ้านบางสะเก้า (จันทบุรี)
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล - - วิจัย
สัตว์หน้าดิน
แพลงก์ตอนพืชทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบ ชนิด ความหนาแน่น มวลชีวภาพ และดัชนีความหลากหลาย และความสมบูรณ์ ทั้งแพลงก์ตอนพืชและ macrofauna หน้าดินในบางสะเก้า, จังหวัดจ้นทบุรี โดยทำวิจัยในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 ถึงมิถุนายน 2552 เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ทะเลหน้าดินทุก 2เดือน รวม 1 ปี สถานีเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชและสัตว์หน้าดินมี 3 และ 2 สถานี ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าแพลงก์ตอนพืช 63 สกุล โดยใน Division Chromophyta, Division Chlorophyta และ Division Cyanophyta พบ 49,11 และ 3 สกุล ตามลำดับ แพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นในเกณฑ์ของความถี่ที่พบ และความหนาแน่นที่มากประกอบด้วยไดอะตอม ได้แก่ Cyclotella sp., Coscinodiscus sp., Pleurosigma sp., Navicula sp. และ Bacillaria sp. กลุ่มของไดอะตอมพบความหนาแน่นมากที่สุดในระหว่างการทดลอง ความหนาแน่น เฉลี่ยสูงสุดของแพลงก์ตอนพืชมี 299.35 หน่วย/ลิตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าในบริเวณปากแม่น้ำพบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชสูงสุด ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพและดัชนีความสม่ำเสมอของแพลงก์ตอนพืชพบได้ระหว่าง 1.20 - 0.55 - 0.76 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชและความเค็มในการศึกษาครั้งนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงโดยความเค็มที่เพิ่มขี้นจะเพิ่มความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช จากการศึกษาสัตว์หน้าดินพบว่ามีทั้งหมด 15 วงค์ จาก 5 ไฟลัม สัตว์หน้าดินที่พบเสมอ ได้แก่ ไส้เดือนทะเลในวงค์ Annelida, Arthropoda, Chordata, Mollusca and Platyhelminthes สัตว์ทะเลหน้าดินที่เป็นวงค์เด่น ได้แก่ Capitellidae บริเวณแถบด้านนอกที่ขนานกับร่องน้ำที่ไหลออกสู่ทะเลพบ จำนวนวงค์ที่พบและความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินมากกว่าบริเวณด้านใน ความสัมพันธ์ระหว่างสารอินทรีย์ทั้งหมดและความหนาแน่นในการศึกษาครั้งนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงโดยอินทรีย์วัตถุเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมดจะเพิ่มความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดิน ข้อมูลจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าสัตว์ทะเลหน้าดินอาจจะนำไปใช้เป็น bioindicator ของระบบนิเวศป่าชายเลนเพื่อการจัดการป่าชายเลนและชุมชน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1010
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น