DSpace Repository

การพัฒนาแบบวัดความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์
dc.contributor.advisor กุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.advisor วนัสรา เชาวน์นิยม
dc.contributor.author รัศมี สุขนรินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:37Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:37Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8829
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงคุณภาพและสร้างแบบวัดความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อศึกษาลักษณะและองค์ประกอบของความสุขทางใจเป็นผู้สูงอายุที่สร้งประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม จำนวน 15 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาความสุขทางใจ จำนวน 19 คน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้งและพัฒนาแบบวัดเป็นผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,114 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความสุขที่สร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามจิตมิติด้วยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การหาเกณฑ์ปกติของแบบวัด และประเมินความพึงพอใจในการนำแบบวัดไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าควอไทล์ ค่าพิสัย ควอไทล์การสกัดองค์ประกอบ และค่าเปอร์เซ็นท์ไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุได้ให้ความหมายของการเป็นผู้ที่มีความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมว่าเป็นความรู้สึกโปร่งโล่งสบายกายใจไม่มีอะไรมาบีบคั้น รู้สึกสุข สงบ บริสุทธิ์จากภายในจิตใจ ซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตในทางที่ถูกต้อง ดีงาม เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่น มีปัญญารู้และเข้าใจโลกตามความเป็นจริง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัด จำนวน 34 ข้อ พบว่า มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต 2) ภาวะอารมณ์เชิงบวก 3) การมีปัญญารู้ และเข้าใจตามความเป็นจริง 4) การมีความมั่นคงทางจิตวิทญญาณ และ 5) มีใจเป็นอิสระและปล่อยวาง มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 18, 6, 5, 3 และ 2 ตัวแปร ตามลำดับ แต่ละตัวแปรมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.48 ค่า KMO เท่ากับ 0.962 (P<.05) สามารถกำหนดเกณฑ์ของแบบวัดความสุขทางใจออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ความสุขมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไป (คะแนนรวมมากกว่า 133 คะแนน) 2) ความสุขอยู่ในระดับผู้สูงอายุทั่วไป (คะแนนรวมอยู่ระหว่าง 107-133 คะแนน) และ 3) ความสุขน้อยกว่าผู้สูงอายุทั่วไป (คะแนนรวมน้อยกว่า 107 คะแนน) ดังนั้น หน่วยงานด้านสาธารณสุข และผู้มีหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์คนชรา ตึกผู้ป่วยสูงอายุ รวมถึงตัวผู้สูงอายุเอง ควรทำการประเมินให้ทราบถึงระดับความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรม แล้วนำผลที่ได้ไปวางแผนในการดูแลสูงอายุให้มีความสุขทางใจที่สูงขึ้น ละเอียดยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมส่วนรวมต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.subject ความสุขในผู้สูงอายุ
dc.title การพัฒนาแบบวัดความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ
dc.title.alternative The development of mind hppiness mesurement in buddhist context for ging group
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This mixed method research aimed to qualitative study and development of mind happiness measurement in the Buddhist context for aging group. The key persons for in depth interview were 15 happy elderly and benefit to society, for created and development mind happiness measurement were 19 expert and for evaluated measurement were 32 health service officers. The sampling for development measurement were 1,114 Buddhist elderly who had been multi-stage random sampling. The data were collected by questionnaire that drawn from the qualitative study with assessment by expert opinion, content validity, reliability, exploratory factors analysis, create norms and evaluation the satisfaction of the measurement. Data were analyzed by using frequency, percentage, quartile, inter-quartile, extraction component and the percentiles. The results from in-depth interviews showed, the elderly have given the meaning of mind happiness in the Buddhist contexts referred to a purely clear and peaceful feeling free from any pressures that was generated from inside and resulted from leading a virtuous life in favor of the benefits for oneself and others; and from attaining wisdom to recognize the world in line with reality. The final outcome study showed that; the mind happiness measurement in the Buddhist context has five elements of employing virtue as the basis for leading one's life, positive motion, attaining wisdom to have insight into all beings in accordance with actuality, having a stability spiritual and independent mind. These components were defined by 18, 6, 5, 3 and 2 variant, respectively, factor loading for all components are higher than 0.48, the KMO is 0.962 (P<.05). Finally, mind happiness in the Buddhist context for the aging group divided to 3 levels: the highest (total score > 133.0), the middle (Total score 107.0-133.0) and the lowest (Total score < 107). In conclusion, the public health agency and the elderly caregiver organization such as elderly nursing home, elderly ward and the elderly themselves should assessment the level of mind happiness in the Buddhist context for planning to care and develop mind happiness to the highest level. This could lead to happiness society.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account