DSpace Repository

การศึกษาข้อมูลทางคลินิก ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลตนเอง และคุณภาพการบริการ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ภาวนา กีรติยุตวงศ์ th
dc.contributor.author สุวรรณี มหากายนันท์ th
dc.contributor.author นิภาวรรณ สามารถกิจ th
dc.contributor.author ดารัสนี โพธารส th
dc.contributor.author วัลลดา เล้ากอบกุล th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/83
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาข้อมูลทางคลินิก ความรู้เรื่องโรคเบาหวานการดูแลตนเอง และคุณภาพการบริการในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการตรวจที่คลินิกเฉพาะโรคเบาหวาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 149 ราย ระหว่างเดือนพฤศจิกาย พ.ศ.2540 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 เครืองมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบบทดสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน และการประเมินคุณภาพการบริการ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย อายุเฉลี่ย 60 ปี (SD= 10.95 ปี) เป็นโรคเบาหวานมานาน 6.85 ปี (SD= 6.42 ปี) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 76.5 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษาร้อยละ 67.1 ผู้ป่วยประกอบอาหารเองเป็นส่วนใหญ่เดินทางมาโรงพยาบาลโดยรถประจำทาง และมีค่าเฉลี่ยดรรชนีความหนาของร่างกายสูงกว่าค่าปกติทั้งเพศชายและเพศหญิง ผู้ป่วยในกล่มที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน อาการของโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคเบาหวานการดูแลสุขภาพตนเอง อาหารที่ควรลดหรืองดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และการรักษาโรคเบาหวานได้ถูกต้อง และมากกว่าร้อยล่ะ 80 ที่เลือกคำตอบในแต่ละข้อคำถามมากกว่า 1 ข้อ แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่มีความรู้ดังกล่าวข้างต้น โดยความรู้ที่ผู้ป่วยไม่ทราบมากที่สุดคือเรื่องการตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะ (48.3%) ประโยชน์ของการออกกำลังกาย (18.1%) ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (16.1%) การป้องกันโรคเบาหวาน (5.4%) การดูแลสุขภาพตนเอง (4.7%) การควบคุมอาหาร (4%) การรักษา(2.7%) ในเรื่องความรู้สึกต่อการเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยร้อยละ 84.6 ยอมรับได้ต่อการเป็นโรคเบาหวาน และผู้ป่วยร้อยละ 69.8 มีความรู้สึกมากกว่า 1 ข้อโดยรู้สึกว่าสิ้นเปลืองค่ารักษา และเป็นภาระต่อครอบครัว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเองเรื่องการรับประทานยาครบทุกมื้อ และไปตรวจตามนัดมากที่สุด แต่กิจกรรมเรื่องการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา การแก้ไขอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ปฏิบัติได้น้อยสุด ผู้ป่วยรับรู้คุณภาพการบริการอยู่ในระดับดีมาก โดยเลือกข้อได้รับความสะดวกจากเจ้าหน้าที่มากที่สุด และเลือกข้อแพทย์ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจน้อยที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออก ประจำปี พ.ศ. 2541 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง th_TH
dc.subject บริการการพยาบาล th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ - - ผู้ป่วย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject เบาหวาน - - ผู้ป่วย - - การดูแล th_TH
dc.title การศึกษาข้อมูลทางคลินิก ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การดูแลตนเอง และคุณภาพการบริการ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative A study of clinical data : diabetic knowledge, self-care, and the quality of services among diabetic patients at the Health Science Center, Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.year 2542
dc.description.abstractalternative This survey research animed at studying clinical data, diabetic knowlege, self-care, and quality of services among diabetic patients. One hundred and forty nine adults with diabetes millitus were draw from the outpatient diabetic clinic at the Health Science Center, Burapha university from November 1997 to February 1998. Questionanires about clinic data, diabetic knowledge, self-care, and quality of service were administered. Demographic data indicated that there were more females (73.15%) than male (26.85%) in this study with the mean age of 60 years (SD = 10.95) for both groups, Most subjects were married (67.5%) and had a high school diploma (61.7%). Their mean duration of illness was 6.85 years (SD=6.42). Most prepared food by themselves and came to the Health Science Center by public transportation. Means of the body mass in dex (BMI) in both males and females fell in a higher range than that in the normed group. Most patients had knowledge in 9 topics about of diabetes, symptoms, advantages of weight control, exercise, urine sugar testing, diabetic complications, diabetic provention, how to take care of their health, diet controls and treatments. More than 80% of the patients indicated that they knew about more than one item in cach topic. However, some patients did not have diabetic knowledge in urine sugar testing (48.3%), advantages of exercise (18.1%), diabetic complications (16.1%), diabetic prevention (5.4%), how to take care of their health (48.3%), diet controls (4%) or treatment (2.7%). As to their feelings about having diabetes, the majority (84.6%) accepted to live with diabetes. However, almost 70% revealed that they had concerns about spending too much money on their treatments, and negetive effacts of diabetes on their families, Regarding self-care, two activities that most subjects did most often were taking their medications regularly and going to the Center for their follow-ups on a regular basis. However, two activities they did least often were having meals on time and managing hypoglycemia. The sample preceived the quality of services they received from health professionals at the very good level. They indicated that the best service they got was convenience but the worst service was being able to participate in decision making about their self-care. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account