DSpace Repository

การพัฒนามาตรฐานการวัดและประเมินผลและโมเดลการจัดทำธนาคารข้อสอบสำหรับครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/824
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการวัดและประเมินผลการศึกษาและสภาพการจัดทำธนาคารข้อสอบของครู เพื่อพัฒนามาตรฐานตัวบ่งชี้และเกณฑ์สำหรับมาตรฐานการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ เพื่อทดลองใช้และประเมินมาตรฐานการวัดและประเมินผล และประเมินแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบที่พัฒนาขึ้น สรุปผลวิจัย ผลการศึกษาสภาพความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาและการจัดทำธนาคารข้อสอบก่อนการทดลองใช้ พบว่าครูมีระดับความรู้ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด (38.30%) รองลงมามีความรู้อ่อน (28.60%) และมีความรู้พอใช้ (21.00%) โดยมีความรู้อยู่ในระดับดีขึ้นไปเพียง (13.80%) ทัศนคติต่อการวัดและการประเมินผล ของครโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ครูโรงเรียนมัธยมศึกษามีทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ = 3.66, SD = .41) และพบว่าการปฏิบัติในการวัดและการประเมินผลของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ =3.85, SD = .58) ผลการแปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลของครูที่มีเพศต่างกัน โดยการทดสอบค่าที (Independent t-test) พบว่า ครูมัธยมที่มีเพศต่างกัน มีความรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทัศนคติและการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ครูมัธยมที่มีภูมิภาคต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) พบว่า ครูมัธยมที่อยู่ในภูมิภาคต่างกัน มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษา ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า ครูมัธยมที่ตำแหน่งต่างกัน มีความรู้ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำแนกตามระดับการศึกษาสาขาการศึกษาสูงสุด พบว่า ครูมัธยมที่ระดับทางการศึกษาต่างกัน มีความรู้ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนทัศนคติ และการปฏิบัติต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาและการจัดทำธนาคารข้อสอบ กับ อายุ ประสบการณ์ ของครูมัธยมโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment) พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับอายุและประสบการณ์การทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับอายุ ประสบการณ์การทำงาน และทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการพัฒนา มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ และแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ โดยนำสารสนเทศจากระยะแรกไปร่างแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ และได้มาตรฐานการวัดและประเมินผลและธนาคารข้อสอบของโรงเรียนมัธยม 7 มาตรฐาน 19 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย มาตรฐานการวัดผล 3 มาตรฐาน 9 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านการประเมินผล 2 มาตรฐาน 6 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านธนาคารข้อสอบ จำนวน 2 มาตรฐาน 4 ตัวบ่งชี้ นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 ท่าน ตรวจาสอบความเหมาะสมโดยใช้ค่ามัธยฐาน (Mdn) และความสอดคล้องโดยค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (IQR) พบว่า แบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกรายการ และทุกรายการมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ความเหมาะสมของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สดเท่ากัน 2 รายการ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกรายการ ความเหมาะสมของ เกณฑ์ พบว่า มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน 4 รายการ นอกจากนั้นมีความเหมาะสมระดับมาก และมีความสอดคล้องกันทุกรายการ หลังทดลองใช้ พบว่า ครูโรงเรียนนำร่องมีความรู้ด้านการวัดและการประเมินผลและการจัดทำธนาคารข้อสอบในระดับดีมาก มากที่สุด (74%) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีขึ้นไป 98% ทัศนคติต่อการวัดและประเมินผล ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษามีทัศนคติต่อการวัดและประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (x¯ = 3.93, SD = .37) การปฏิบัติในการวัดและการประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ = 3.89, SD = .43) ผลการศึกษาพัฒนาการด้าน ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการวัดและประเมินผลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการวัดและประเมินผลระหว่างก่อนทดลองใช้ และหลังทดลองใช้ของครูโรงเรียนนำร่อง โดยการทดสอบค่าที (Independent t-test) พบว่า หลังทดลองใช้สูงกว่าก่อนทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการประเมินของครูหลังทดลองใช้ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ และแบบจำลองแนวทางการจัดทำธนาคารข้อสอบ ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนวิจัยจาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ธนาคารข้อสอบ th_TH
dc.subject มาตรฐานการวัดและประเมินผล th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การพัฒนามาตรฐานการวัดและประเมินผลและโมเดลการจัดทำธนาคารข้อสอบสำหรับครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย th_TH
dc.title.alternative A development of measurement and evaluation standards and item bank appeoach model for teachers in Thai secondary schools en
dc.type Research th_TH
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative This research was research and development. The purposes of this research were to (1) educate teacher’s measurement and evaluation and item bank (2) develop indicator and criterion standard for measurement and evaluation standard (3) develop model of item bank approach (4) try and evaluate standard and evaluate the model The research results can be concludes as follows: The results of teacher’s measurement and evaluation and item bank found that most teacher’ knowledge failed (38.30%). Some teachers were low pass (26.80%). Some teachers were moderate knowledge (21.00%) and small part of teachers was high knowledge level (13.80%). Most teachers were high measurement and evaluation attitude (x¯ = 3.66, SD = .41) and high practice (x¯ = 3.85, SD = .58) The results of knowledge, attitude and practice comparing between teachers’ gender by Independent t-test method found that there was different knowledge significantly at .05, was not different attitude and practice. The results of knowledge, attitude and practice comparing between teachers’ province by One way ANOVA method found that there was different knowledge, attitude and practice significantly at .001, and by teachers’ position found that there was different knowledge, attitude and practice significantly at .001, and by teachers’ position found that there was different knowledge, attitude and practice significantly at .001. and by teachers’ major by One way ANOVA method found that there was different knowledge significantly at .001, was not different attitude and practice. The correlation between knowledge, attitude and practice about measurement and evaluation and item bank with age and job experience by Pearson Product Moment correlation method found that there are different between knowledge, attitude and practice about with age and job experience significantly at .05. The results of standard, indicator and criterion development and model of item bank approach found that the standard of measurement and evaluation and item bank of secondary school consists of 7 standards (groups of indicators): 19 indicators. There were 9 indicators for measurement standard, 6 indicators for evaluation standard and 4 indicators for item bank standard. They were approve by median (Mdn.) and interquartile range (IQR) from 17 experts found that all of them were good to very good. After trial found that teachers’ knowledge, attitude and practice by Dependent t-test method were better significantly at .001. The results of evaluate after trail standard, indicator, criterion and model of item bank approach in utility, probability, accuracy and suitability found that every dimension was good and the total evaluate result was good en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account