DSpace Repository

การกระจายและการสะสมตัวของโลหะหนัก แคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี ในดินตะกอนจากแหล่งน้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author สุวรรณา ภาณุตระกูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/823
dc.description.abstract ทำการศึกษาระดับความเข้มข้น และการกระจายตัวของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และเหล็กในดินตะกอนขนาดเล็กกว่า 125 µm จากแหล่งน้ำผิวดิน และชายฝั่งทะเลในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พบค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และเหล็กในดินตะกอนจากแหล่งน้ำผิวดินมีค่าเฉลี่ย ± SD เท่ากับ 0.23 ± 0.18, 32.8 ±23.6, 289.6 ± 381.2, 66.6 ± 65.8, 734 ± 810 µg/g (dry wt.) และ 16.7 ± 7.9 mg/g (dry wt.) ตามลำดับ ส่วนค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แมงกานีส และเหล็กในดินตะกอนจากชายฝั่งทะเล ค่าเฉลี่ย ± SD เท่ากับ 0.15 ± 0.18, 12.78 ± 14.4, 151.8 ± 304.2, 5.79 ± 3.63, 351.9 ± 307.9 µg/g (dry wt.) และ 12.08 ± 5.11 mg/g (dry wt.) ตามลำดับ ความเข้มข้นของแคดเมียในดินตะกอนจากแหล่งน้ำผิวดิน และชายฝั่งทะเลมีค่าไม่เกินมาตรฐานคุณภาพดินตะกอนแหล่งน้ำผิวดิน และดินตะกอนชายฝั่งทะเล ในขณะที่พบความเข้มข้นของ ทองแดง สังกะสี ตะกั่วในบางสถานีเก็บตัวอย่างมีค่าเกินมาตรฐานฯ โดยสังกะสีเป็นโลหะหนักที่มีระดับการปนเปื้อนสูงเกินมาตรฐานถึงกว่า 10 เท่า สถานีที่มีค่าความเข้มข้นของแคดเมียมสูง และโลหะอื่นๆ เกินมาตรฐานจะตั้งอยู่ในพื้นที่คลองชากหมาก ซึ่งเป็นคลองที่ไหลผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนในพื้นที่คลองห้วยใหญ่ และคลองพยูนซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของพื้นที่นิยมอุตสาหกรรมฯ มีค่ารองลงมา และในเขตพื้นที่คลองทับมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมตั้งอยู่น้อยที่สุดก็มีค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสี และตะกั่วต่ำที่สุดด้วย เป็นที่สังเกตได้ว่าสถานีที่มีค่าความเข้มข้นของโลหะหนักสูงจะตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า ความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง สังกะสีในดินตะกอนชายฝั่งทะเลหน้าพื้นที่นิยมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีค่าลดต่ำลงตามระยะทางห่างฝั่ง บริเวณปากคลองชากหมาก และคลองอื่นๆ รวมถึงบริเวณโดยรอบท่าเรือมาบตาพุดและโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีเป็นบริเวณที่มีค่าสูง แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมจากแผ่นดินเป็นที่มาของโลหะหนักที่สะสมตัวในดินตะกอนชายฝั่งทะเล การสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอน การดูดซับโลหะหนักบนพื้นผิวของอนุภาคของสารอินทรีย์ น่าจะเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอนในแหล่งน้ำผิวดิน ในขณะที่การสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอนชายฝั่งทะเลนอกจากจะเกิดจากการตกตะกอนกับสารอินทรีย์แล้ว กระบวนการตกตะกอนร่วมกับเหล็กและแมงกานีสออกไซด์ ก็น่าจะเป็นอีกกระบวนการที่มีความสำคัญ ในการควบคุมการสะสมตัวของโลหะหนักในดินตะกอนชายฝั่งบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ดินตะกอน th_TH
dc.subject นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด th_TH
dc.subject โลหะหนัก th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การกระจายและการสะสมตัวของโลหะหนัก แคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี ในดินตะกอนจากแหล่งน้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Distribution and accumulation of heavy metals (Cd, Pb, Cu, Fe, Mn and Zn) in aquatic sediments around maptapud industrial estate, Rayong province. en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative Concentrations and distributions of Cd, Cu, Zn, Pb, Mn and Fe in sediment (<125 µm) surface water (Klong or canals) and coastal area, in Map Ta Phut industrial estate area were studies and investigated. Mean ± SD concentrations of Cd, Cu, Zn, Pb, Mn and Fe in surface water sediment were 0.23 ± 0.18, 32.8 ±23.6, 289.6 ± 381.2, 66.6 ± 65.8, 734 ± 810 µg/g (dry wt.) and 16.7 ± 7.9 mg/g (dry wt.), respectively, whereas mean ± SD concentrations of Cd, Cu, Zn, Pb, Mn and Fe in coastal sediment were 0.15 ± 0.18, 12.78 ± 14.4, 151.8 ± 304.2, 5.79 ± 3.63, 351.9 ± 307.9 µg/g (dry wt.) and 12.08 ± 5.11 mg/g (dry wt.), respectively. Concentration of Cd in sediment from surface water and coastal area was within draft sediment quality guideline (SQG) for surface water sediment and coastal sediment. However, concentrations of Cu, Zn and Pb in some sampling stations were higher that the SQGs. Zinc was the heavy metal with concentration exceeded SQG more than 10 times. Sampling stations with high Cd, Cu, Zn and Pb concentrations were clustered in Chak Mak canal which flow through Map Ta Phut industrial estate. Sediments in Houi Yai and Payoon canals which are extended industrialized area showed lower heavy metal Concentrations than Chak Mak canal whereas sediment in Tabma canal showed the lowest concentrations. It is noticeable that sampling station with high heavy metal contents in sediment were often located close to factories and power plant. Concentrations of Cd, Cu, Zn and Pb in coastal sediment decreased with increasing distance from shore. Sediment samples from near-shore station especially the mouth of Chak Mak canal and BLCP coal power plant, contain high heavy metal concentrations. This finding indicates that activities on land are the major sources of heavy metal in coastal sediment. Absorption of heavy metal on surface of organic material may be the most important process controlling accumulation of heavy metal in surface water sediment. Co-precipitation of heavy metal with manganese and iron oxides may also play important role in accumulation of heavy metal in coastal sediment around Map Ta Phut industrial estate area. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account