DSpace Repository

การปรับบทแปลระดับคำจากการแปลเรื่อง รอยพระยุคลบาท จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง In His Majesty's Footsteps

Show simple item record

dc.contributor.author วัชรพงษ์ แจ้งประจักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/819
dc.description.abstract การศึกษากลวิธีการปรับบทแปลของบุษกร สุริยสารในการแปลหนังสือสารคดีเรื่อง “รอยพระยุคลบาท” บันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเรื่อง “In His Majesty’s Footsteps” A Personal Memoir: Vasit Dejkunjorn มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลระดับคำและระดับสำนวนในการแปลสารคดีจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมากจึงต้องอาศัยกลวิธีการปรับบทแปลเพื่อช่วยให้ผู้รับสารสามารถรับสารได้อย่างครบถ้วน โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าบุษกร สุริยสารใช้กลวิธีการปรับบทแปลในระดับคำโดยการใช้ 1) การใช้คำยืมเป็นการใช้ร่วมกับคำขยายความซึ่งได้แก่การใช้คำยืมร่วมกับการใช้คำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆ การใช้คำยืมประกอบกับคำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆ และคำขยายบอกหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ การใช้คำยืมและเพิ่มวงเล็บเพื่อให้คำจำกัดความ และการใช้คำยืมโดยตรง 2) การใช้คำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆ เป็นการแปลที่ผู้แปลใช้การเทียบเคียงคำศัพท์ที่ให้ความหมายอย่างกว้างๆ โดยมีการเพิ่มส่วนขยายลงไปเพื่อช่วยสร้างความหมายให้ผู้รับสาร จากการศึกษาพบวิธีการใช้คำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆดังนี้ การใช้คำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆ แล้วขยายความด้วยการบอกลักษณะสัณฐาน การใช้คำจำแนกประเภทอย่างกว้างๆ แล้วขยายด้วยการบอกหน้าที่ 3) การใช้การแทนที่ด้วยสิ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมของภาษาแปล เป็นกลวิธีการแปลที่ผู้แปลใช้ในการอ้างอิงถึงสิ่งของหรือแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในต้นฉบับ โดยผู้แปลแทนที่คำนั้นๆ ด้วยสิ่งที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของภาษาฉบับแปลซึ่งเป็นคำที่ทำให้บทแปลสามารถสื่อสารถึงผู้รับสารได้อย่างตรงตามต้นฉบับเพราะการใช้การแทนที่ เป็นการเลือกใช้คำที่อ้างอิงถึงลักษณะ หรือหน้าที่เดียวกันมาแทนที่ th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ ปีงบประมาณ 2553 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กลวิธี th_TH
dc.subject บทแปล th_TH
dc.subject สำนวน th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title การปรับบทแปลระดับคำจากการแปลเรื่อง รอยพระยุคลบาท จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง In His Majesty's Footsteps th_TH
dc.title.alternative The techniques of adjustment at Lexical level from Thai translation of "รอยพระยุคลบาท" from Thai into english as "In His Majesty's Footsteps" en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative The study of the techniques of adjustment in the translation of the book รอยพระยุคลบาท from Thai into English by Busakorn Suriyasarn aimed to study the techniques of adjustment at lexical level. Accordingly, the use of techniques of adjustment was frequently applied throughout the book in order to aid its readers to understand the whole translated text. This study was documentary and analytical research. It was found that Busakorn Suriyasarn utilized three different techniques of adjustment. The first technique was the use of loanwords consisting of the use of loanwords modified by generic words, the use of loanwords modified by generic words and characteristic demoting modifiers, the use of loanwords modified by generic words and purpose-denoting modifiers, the use of loanwords with the addition of parentheses to give definitions, and the use of direct loanwords. Second, the use of generic words was utilized to translate by broadly rendered equivalents. The use of generic words was accompanied by modifiers to form meaning for the message receiver. From the study, it was found that the generic words were used as follows: the use of generic words modified by shape description and the use of generic words modified by function. Third, the use of cultural substitute was utilized when the translator aimed to transfer the meanings of ideas or concepts existing in the source language culture and never existing in the target language culture. The translator chose the words referring to the same purposes and characteristics in substitute cultural-bond terms to convey the same message as did the source text. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account