DSpace Repository

การพัฒนาอินเทอแรกชั่นเกมสำหรับสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจของวัยรุ่นที่มีลักษณะหุนหันพลันแล่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisor กนก พานทอง
dc.contributor.author อมร สุดแสวง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8088
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอินเทอแรกชั่นเกมสําหรับสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจของวัยรุ่นที่มีลักษณะหุนหันพลันแล่น และศึกษาผลการใช้งานอินเทอแรกชั่นเกม โดยการศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างความหุนหันพลันแล่นกับการตัดสินใจ และเปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจ และความหุนหันพลันแล่น ก่อนกับหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเพศหญิงและเพศชาย อายุระหว่าง 15-18 ปี จํานวน 64 คน สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แบบแผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย อินเทอแรกชั่นเกมสําหรับสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจ แบบวัด Barratt Impulsiveness Scale (BIS-11) มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .81 เครื่องมือวัดด้านพฤติกรรม IOWA Gambling Task (IGT) มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .68 Balloon Analogue Risk Task (BART) มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .93 และ Continuous Performance Test (CPT) มีค่าความเที่ยงของการวัดค่าการตอบสนองผิดพลาด เท่ากับ .56 และมีค่าความเที่ยงของการวัดค่า การละเว้นการตอบสนอง เท่ากับ .58 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร ผลการวิจัยปรากฏว่า ความหุนหันพลันแล่นมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ กลุ่มทดลองมีการตัดสินใจมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีระดับความหุนหันพลันแล่น ลักษณะหุนหันพลันแล่นด้านการเลือก ด้านการตอบสนอง และด้านการขาดความสนใจ น้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการตัดสินใจ มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 มีระดับความหุนหันพลันแล่น ลักษณะหุนหันพลันแล่น ด้านการเลือก และด้านการขาดความสนใจ น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 และลักษณะหุนหันพลันแล่นด้านการตอบสนองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 สรุปได้ว่า การฝึกด้วยอินเทอแรกชั่นเกม ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจของวัยรุ่นที่มีลักษณะหุนหันพลันแล่นได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject วัยรุ่น -- การตัดสินใจ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject การตัดสินใจ
dc.title การพัฒนาอินเทอแรกชั่นเกมสำหรับสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจของวัยรุ่นที่มีลักษณะหุนหันพลันแล่น
dc.title.alternative Development of n interction gme for enhncing decision mking performnce mong impulsive dolescents
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to develop an interaction game for enhancing decision making performance among impulsive adolescents, and to evaluate its effect. Sixty-two female and male students (aged between15-18) were randomly assigned to experimental and control groups. An experimental research pretest-posttest control group design was used to analyze the data. Instruments consisted of the interactive game, Barratt Impulsiveness Scale (BIS-11) (Cronbach's alpha = .81), IOWA Gambling Task (IGT) (Cronbach's alpha = .68), balloon analogue risk task (BART) (Cronbach's alpha = .93), and a continuous performance test (CPT) (Cronbach's alpha for commission errors = .56 and omission errors = .58). Data were analyzed by means, standard deviations, Pearson correlation coefficient, t-test, and multivariate analysis of variance. The results demonstrated that there was a significant correlation between impulsiveness and decision making. The IGT performance after training in the experimental group was significantly higher than that before training (p<.01). In addition, the BIS-11, BART, commission errors, and omission errors were significantly lower than before training (p < .01). The experimental group exhibited a significant increase in the IGT performance when compared to that of the control group (p < .01), whereas BIS-11 (p < .01), BART (p < .01), commission errors (p < .05) and omission errors (p < .01) were significantly lower than that of control group. It was concluded that the interaction game for enhancing decision making performance among impulsive adolescents can improve decision making performance.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account