DSpace Repository

ความหลากหลายของทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยกจากใบไม้บริเวณป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุดารัตน์ สวนจิตร
dc.contributor.advisor สมถวิล จริตควร
dc.contributor.author ทิวาพร ทองประสม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:42Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7588
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ศึกษาความหลากหลายความถี่ของการพบและปริมาณกรดไขมันในทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยก จากใบไม้จำนวน 12 ชนิด ที่ร่วงหล่นบริเวณป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง ในฤดูแล้งและฤดูฝน พบทรอสโทไคตริดส์ที่จำแนกได้ 3 จีนัส (7 สปีชีส์) ได้แก่ จีนัส Aurantiochytrium จำนวน 5 สปีชีส์ (Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Aurantiochytrium sp.4 และ Aurantiochytrium sp.5) จีนัส Parietichytrium จำนวน 1 สปีชีส์ (Parietichytrium sp.) จีนัส Schizochytrium จำนวน 1 สปีชีส์ (Schizochytrium sp.2) และทรอสโทไคตริดส์ที่ไม่สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ Thraustochytriidae 8 และ Thraustochytriidae 9 ความถี่ของการพบทรอสโทไคตริดส์ช่วงฤดูฝน และฤดูแล้งมีค่า 2.5-52.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยฤดูฝนมีความถี่ของการพบมากกว่า ฤดูแล้ง เมื่อพิจารณาจากชีวมวลของทรอสโทไคตริดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 15.63±3.03-22.87±0.80 กรัมต่อลิตร โดย Aurantiochytrium sp.1 มีชีวมวลเฉลี่ยสูงสุด สำหรับปริมาณกรดไขมัน พบว่า Aurantiochytrium sp.1 มีปริมาณเออาร์เอ (Arachidonic acid, 20:4 n-6, ARA) และอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid, 20:5 n-3, EPA) เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.43±0.20 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (0.1±0.04 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) และ1.67±1.17 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (0.35±0.20 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับส่วน Aurantiochytrium sp.3 มีกรดไขมันดีพีเอ (Docosapentaenoic acid, 22 :5 n-6, DPA) และดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid, 22:6 n-3, DHA) สูงสุดเท่ากับ 39.40±6.17 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (8.06±0.53 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) และ 137.23±25.61 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (31.68±2.72 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ สายพันธุ์ Aurantiochytrium sp.1 เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความหลากหลายของสัตว์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.subject นิเวศวิทยาป่าชายเลน
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพ
dc.title ความหลากหลายของทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยกจากใบไม้บริเวณป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง
dc.title.alternative Diversity of thrustochytrids isolted from mngrove leves t Thung Prong Tong, Ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Diversity, frequency of occurrence and fatty acid content of thraustochytrids isolated from 12 fallen leaves of mangrove trees at Thung Prong Tong, Rayong Province were studied in the dry and rainy seasons. Three genera (7 species) were identified as genus Aurantiochytrium (5 species, such as Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Aurantiochytrium sp.4 and Aurantiochytrium sp.5), genus Parietichytrium (1 species, Parietichytrium sp.), genus Schizochytrium (1 species, Schizochytrium sp.2). Two groups of unidentified thraustochytrids were Thraustochytriidae 8 and Thraustochytriidae 9. The average frequency of occurrence of thraustochytrids in dry season and rainy season were 2.5% and 52.5%, respectively. The average biomass of thraustochytrids were in a range of 15.63±3.03-22.87±0.80 g/L, which the highest found in Aurantiochytrium sp.1. For fatty acid content, Aurantiochytrium sp.1 had the highest content of Arachidonic acid (20:4 n-6, ARA) and Eicosapentaenoic acid (20:5 n-3, EPA) of 0.43±0.20 mg/g dry wt. (0.1±0.04 % of total fatty acid) and 1.67±1.17 mg/g dry wt. (0.35±0.20% of total fatty acid), respectively. While the highest amount of Docosapentaenoic acid (22:5 n-6, DPA) and Docosahexaenoic acid (22:6 n-3, DHA) were found in Aurantiochytrium sp.3 at 39.40±6.17 mg/g dry wt. (8.06±0.53% of total fatty acid) and 137.23±25.61 mg/g dry wt. (31.68±2.72% of total fatty acid), respectively. Aurantiochytrium sp.1 is the appropriate stain for further industrial uses.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account