DSpace Repository

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisor สมพร สุทัศนีย์
dc.contributor.author ศศิภา จันทรา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.available 2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7521
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลที่พัฒนาขึ้นระหว่างเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 680 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปร คือการรับรู้ ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ และบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ 5 ตัวแปร ได้แก่ อาการทางประสาท แสดงตัว เปิดกว้าง น่าชื่นชม และมีสติรู้ผิดชอบ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์และมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและกลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(ค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 12.58, ค่า df เท่ากับ 9, ค่า p เท่ากับ .18 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00, AGFI เท่ากับ .98, CFI เท่ากับ 1.00, RMSEA เท่ากับ .02 และ ค่า SRMR เท่ากับ .01 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ได้ร้อยละ 15 2. ผลการตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรระหว่างเพศ พบว่าโมเดลมีความแปรเปลี่ยน 3. บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบแบบมีสติรู้ผิดชอบมีอิทธิพลทางบวกต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษามากที่สุด รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางลบมากที่สุด ได้แก่ บุคลิกภาพแบบอาการทางประสาท รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบน่าชื่นชม
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การวิเคราะห์จัดกลุ่ม
dc.subject การเปรียบเทียบพหุ (สถิติ)
dc.subject การรับรู้ตนเอง
dc.subject ความสามารถทางคอมพิวเตอร์
dc.subject การทดสอบบุคลิกภาพ
dc.subject ความสามารถในตนเอง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
dc.title.alternative A cusl reltionship model of the big five personlity fctors on the computer self-efficcy of students in Sirindhorn college of public helth :b multiple group nlysis
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to develop a causal relationship model of the big five personality factors on the computer self-efficacy of students in Sirindhorn College of Public Health, and 2) to examine the variability of a causal relationship model of the big five personality factors on the computer self-efficacy of students by gender. The sample comprised 680 students in the academic year 2015, selected by multi-stage random sampling. The generated model consisted of six variables: computer self-efficacy, and the big five personality factors of neuroticism, extraversion, openness, agreeableness, and conscientiousness. The research instruments were a computer self-efficacy questionnaire and the big five personality factors scale. The causal relationship model and multiple group analysis were analyzed by LISREL. The results were as follows: 1. The developed causal relationship model of the big five personality factors on computer self-efficacy of students in Sirindhorn College of Public Health was consistent with empirical data; Chi-square test of goodness of fit = 12.58; df = 9; p = .18; GFI = 1.00; AGFI = .98; CFI = 1.00; RMSEA = .02; and SRMR = .01. All variables could explain about 15% of the total variance of computer self-efficacy. 2. The result of examing the gender invariance of the causal relationship model of the big five personality factors on the computer self-efficacy of the students was found to be variant with respect to the gender of the students. 3. The big five conscientiousness factor positively affected computer selfefficacy at the highest level, followed by openness and extraversion. Neuroticism and
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account