DSpace Repository

การปรับปรุงคุณสมบัติดินตะกอนทะเลด้วยการใช้จีโอโพลิเมอร์เถ้าลอยแคลเซียมสูง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สยาม ยิ้มศิริ
dc.contributor.author กนกเนตร ขึ้นนกคุ้ม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:58:59Z
dc.date.available 2023-05-12T03:58:59Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7469
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำดินตะกอนทะเล (Soil) มาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยจีโอโพลิเมอร์ โดยใช้เถ้าลอยแคลเซียมสูง (FA) เป็นสารตั้งต้นและใช้โซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3 ) และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารละลาย Alkali activator เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัสดุงานทางโดยศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทดสอบ California bearing ratio (CBR) ในสภาวะแช่น้ำ และกำลังอัดจากการทดสอบ Unconfined compressive strength (UCS) ในสภาวะแช่น้ำ และไม่แช่น้ำ ผสมด้วยอัตราส่วน Soil : FA เท่ากับ 100 : 0 80 : 20 และ 60 : 40 ในอัตราส่วน Na2SiO3 : NaOH เท่ากับ 0 : 100 50 : 50 และ 100 : 0 โดยสารละลาย NaOH มีความเข้มข้น 5 และ 8โมลาร์โดยตัวอย่างทั้งหมด จะถูกบ่มที่อุณหภูมิห้องที่ระยะเวลา 7 และ 28 วัน และนำมาทดสอบโครงสร้างจุลภาคด้วยวิธี SEM/EDX ทดสอบองค์ประกอบธาตุ XRF ทดสอบความโครงสร้างผลึก XRD และทดสอบโครงสร้างโมเลกุล FT-IR ผลการทดสอบแสดงว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อกำลังอัด ได้แก่ อัตราส่วน Soil : FA อัตราส่วน Alkali activator ความเข้มข้นสารละลาย NaOH และระยะการบ่ม โดยพบว่า CBR ในสภาวะแช่น้ำ และ UCS ในสภาวะไม่แช่น้ำ มีค่าการทดสอบสูงสุดที่อัตราส่วน Soil :FA 60 :40 ด้วยอัตราส่วน Na2SiO3 : NaOH 0 : 100 ความเข้มข้นของสารละลาย NaOH ที่ 5 โมลาร์ระยะเวลาการบ่มตัวอย่างที่ 7 ขณะเดียวกัน UCS ในสภาวะแช่น้ำที่อัตราส่วนเดียวกันแต่ระยะการบ่มที่ 7 วัน ทุกอัตราส่วนไม่สามารถให้กำลังอัดได้แต่ระยะการบ่มที่ 28 วัน ที่อัตราส่วนเดียวกัน สามารถให้กำลังอัดได้สูงสุด ซึ่งจาผลทดสอบ UCS นี้ไม่ผ่านข้อกำหนดชั้นพื้นทางและรองพื้นทางตามเกณฑ์มาตรฐานกรมทางหลวงจึงทำการปรับปรุงอัตราส่วนด้วยการเพิ่มสารละลาย Alkali activator ไปอีก 3% พบว่า อัตราส่วนดังกล่าวยังคงให้ค่ากำลังอัดสูงสุด โดยระยะการบ่มที่ 7 ววัน ในสภาวะแช่น้ำสามารถให้กำลังอัดได้และผ่านเกณฑ์มาตรฐานชั้นรองพื้นทางกรมทางหลวงแต่อย่างไรก็ตามระยะการบ่มที่ 28 วันนั้น ให้ค่ากำลังอัดสูงที่กว่าสาเหตุเป็นเพราะ ปฏิกิริยาจีโอโพลิเมอไรเซชันของ N-A-S-H ที่ต้องการการพัฒนาปฏิกิริยาถึงระยะเวลา 28 วัน เพื่อให้ตัวอย่างเชื่อมประสานทนต่อภาวการณ์แช่น้ำ และปฏิกิริยาไฮเดรชันของ C-S-H ซึ่งเร่งการพัฒนากำลังในระยะการบ่ม 7 วัน โดยผลจากการทดสอบ SEM/EDX XRF XRD และ FT-IR บ่งชี้ถึงส่วนประกอบของ N-A-S-H และ C-S-H ในตัวอย่างแต่อย่างไรก็ตามยังคงพบการเกิดปฏิกิริยาจีโอโพลิไรเซชันเล็กน้อย โดยผลการทดสอบมีความคล้ายคลึงกันทั้งตัวอย่างที่ได้จากอัตราส่วนเดิมและอัตราส่วนที่ถูกปรับปรุงใหม่
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subject การปรับปรุงดิน
dc.subject ดินตะกอน
dc.subject ตะกอน (ธรณีวิทยา)
dc.subject จีโอโพลิเมอร์
dc.subject ขี้เถ้าลอย
dc.title การปรับปรุงคุณสมบัติดินตะกอนทะเลด้วยการใช้จีโอโพลิเมอร์เถ้าลอยแคลเซียมสูง
dc.title.alternative Stbiliztion of dredged mrine sediments using high clcium fly sh-bsed geopolymer
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research studies a possibility of improving a dredged soil by geopolymerization process to be used as a highway material. The geopolymerization process uses a fly ash (FA) as a precursor and a mixture of sodium silicate (Na2SiO3 ) and sodium alkali (NaOH) as an alkali activator. The interested properties of the improved soils are (i) Compaction characteristics, (ii) California bearing ratio (CBR), and (iii) Unconfined compressive strength (UCS). The affecting factors which are investigated are (i) Soil:FA ratio (100 : 0, 80 : 20, and 60 : 40), (ii) Na2SiO3 : NaOH ratio (0 : 100, 50 : 50, and 100 : 0), (iii) NaOH concentration (5 and 8 molar), and (iv) curing time (7 and 28 days). The resulting improved soils are also undertaken chemical analysis, i.e. SEM/EDX, (ii) XRF, (iii) XRD, and (iv) FT-IR. The study shows that all of the investigated affecting factors have an influence of resulting improved soils. At optimum alkali activtor content (OAC), the soaked CBR and unsoaked UCS have their highest values at (i) Soil :FA ratio of 60 : 40, (ii) Na2SiO3 : NaOH ratio of 0 : 100, (iii) NaOH concentration of 5 molar, and (iv) curing time of 7 days. In contrast, the soaked USC at these aforementioned conditions cannot be obtained due to sample disintegration. However, when the curing time is increased to 28 days, the soaked USC at these aforementioned conditions give maximum values but they still do not meet the highway standard values. Therefore, additional condition at OAC+3% is studied. It is found that, with a compaction condition of OAC+3%, the earlier conditions still give highest values and meet the highway standard values. The results from chemical analysis show the existence of N-A-S-H and C-S-H in the improved soils. However, there is small degree of geopolymerization reaction.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account