DSpace Repository

ผลของโปรแกรมวาดภาพเสริมสร้างความหวังต่อความหวังในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.advisor จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.author ปัทพร แจ้งสันเทียะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:45:57Z
dc.date.available 2023-05-12T03:45:57Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7344
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การเสริมสร้างความหวังในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายเป็นการเสริมสร้างพลังด้านบวกให้เกิดความเข้มแข็งในจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยมีความหวังต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างความหวังด้วยการวาดภาพบำบัดต่อความหวังในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตายกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18-59 ปีที่พยายามฆ่าตัวตายและมารับบริการในโรงพยาบาลวิเชียรบุรีโดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 20 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ10 คน กลุ่มทดลองได้รับการวาดภาพบำบัดที่สร้างขึ้นโดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลการดูแลมนุษย์ของวัตสัน แนวคิดความหวังของเฮิร์ท และขั้นตอนการทำ ศิลปะบำบัดของทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา และสมจิตรไกรศรี (2551) กลุ่มทดลองเข้าร่วมการเสริมสร้างความหวังด้วยการวาดภาพบำบัด โดยมีกิจกรรม จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 90-120 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้วัดผลลพัธ์ของ การเข้าร่วมโปรแกรมในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล 1 เดือน คือ แบบประเมินความหวังของเฮิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี บอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยความหวังแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จากการทดสอบเป็นรายคู่พบว่า ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีกับระยะติดตามผล 1 เดือน คะแนนเฉลี่ย ความหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรนำกิจกรรมการวาดภาพบำบัดไปใช้เป็นแนวทางเพื่อเสริมสร้างความหวังให้กับผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การฆ่าตัวตาย
dc.subject ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ผลของโปรแกรมวาดภาพเสริมสร้างความหวังต่อความหวังในผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย
dc.title.alternative The effect of progrm fostering hope by drwing in ttempted suicide ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aim of fostering hope in attempted suicide patients is to promote positive power and resilience in order to establish hope for future life continuity. The purpose of this quasi-experimental study is to examine the effect of fostering hope through drawing therapy in attempted suicide patients. Twenty participants from Wichainburi hospital who met the study inclusion criteria were recruited and were randomly assigned equally into an experimental group and a control group. The drawing therapy was developed based on Watson’s Human Care Theory, Herth hope concept and the process of conducting art therapy postulated by Siriratreka and Kraisri. The experimental group received the program for 90-120 minutes per session, for a total of 5 sessions. While those in the control group, received only routine nursing care. The Herth hope scale was employed to evaluate hope at pre-posttest and one month follow-up period. Descriptive statistics, independent t-test, two-way repeated measures ANOVA and multiple comparison tests using the Bonferroni method were employed to analyze the data. The results demonstrated that the mean scores of hope between the experimental group and the control group at post-test and the 1 month follow-up were significantly different at .001. In the experimental group, mean scores of hope at pre-test, post-test and the one-month follow-up were significantly different at p value of .001. From the post-hoc comparison, there was a significant difference between mean scores at post-test and the one-month follow-up period at p value of .01. The results suggest that nurses and health care providers could apply this drawing therapy for increasing hope in attempted suicide patients.-
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account