DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดโทษทางอาญา : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประลอง ศิริภูล
dc.contributor.author พิมพิกา สุทธิมรรคผล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:42:59Z
dc.date.available 2023-05-12T03:42:59Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7286
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้โทษทางอาญาในคดีเช็ค โดยศึกษากรณีความเหมาะสมของการบังคับใช้โทษทางอาญาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534จากการศึกษาพบว่าการที่กฎหมายกําหนดให้บุคคลรับโทษทางอาญาในกรณีมีการกระทําความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเศรษฐกิจว่าจะมีการใช้เงินตามเช็คนั้นจริง อย่างไรก็ตามการกําหนดโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นหลายประการ เช่น ปัญหาความไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษทางอาญา และขัดกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยที่โทษทางอาญาสําหรับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกําหนดโทษจําคุกระยะสั้นไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการลงโทษได้ ทั้งเป็นการกําหนดกระทําที่เป็นความผิดอาญามากเกินความจําเป็น อันนําไปสู่ปัญหาคดีอาญาเฟ้อ ส่งผลให้สภาพบังคับของกฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ มีคดีค้างในศาลจํานวนมาก ทําให้รัฐเสียค่าใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จําเป็น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการยกเลิกโทษทางอาญาที่เกิดจากความรับผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับหรือโทษจําคุก โดยกําหนดให้มีมาตรการเสริมอื่นแทนการบังคับ ใช้โทษทางอาญากับคดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเช่น การนํามาตรการด้านเครดิตบูโรหรือติดแบล็คลิสต์ (Blacklist) มาใช้กับกรณีธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเพราะผู้ออกเช็คมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะนั้น หรือ ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่ บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจํานวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้ รวมทั้งควรกําหนดให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการดําเนินการเกี่ยวกับการใช้เช็คโดยให้อยู่ภายใต้การ ควบคุมดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้อาจมีการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ชําระหนี้ด้วยวิธีอื่น แทนชําระหนี้ด้วยเช็ค เนื่องจากปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิตอลการระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีปัจจัยสําคัญต่อการดําเนินชีวิตมากขึ้น การตรวจสอบและควบคุมทําได้ง่ายจึงเห็นควรให้ทําธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเช็คสอดคล้องกับหลักกฎหมายและทฤษฎีทางอาญา ลดคดีความทางอาญาที่ไม่จําเป็นขึ้นสู่ศาลได้เป็นจํานวนมาก อันจะทําให้การบังคับใช้กฎหมายอาญาและ กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คดีอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
dc.subject พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
dc.subject เช็ค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.title ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดโทษทางอาญา : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
dc.title.alternative Legl problem in determintion of criminl punishment :bcse study of libility cused from use of cheque ct B.E. 2534 (1991)
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the problem related to the enforcement of criminal punishment in the case of cheque by case study of the appropriateness for enforcement of criminal punishment determined in Liability Caused from Use of Cheque Act B.E. 2534 (1991). According to the study, the finding indicated that the determination by law that the person shall be criminally punished in case of offence commitment due to use of cheque to build economic reliability that the payment is actually made according to cheque. However, the determination of criminal punishment under Liability Caused from Use of Cheque Act B.E. 2534 (1991) caused various problems such as problem of inconsistency with theory of criminal punishment and conflict with the principle of international law. The criminal punishment for offence caused from use of cheque is the determination of punishment for short-term imprisonment and is unable to meet the punishment objective. It is the determination of criminal offence which is excessive leading to excessive criminal problem and resulting in ineffective law sanction and large number of pendente lites in the courts. This has caused the unnecessary payment of the government in judicial administration expense. From the said problem conditions, the researcher has suggested to cancel criminal punishment caused from liability of use of cheque whether it is the fine punishment or imprisonment punishment whereas other supporting measures are determined for enforcement of criminal offence against the case of offence due to use of cheque such as application of credit bureau or blacklist measures with the event of the bank’s refusal of payment according to cheque since the cheque issuer has intention on default of payment according to cheque; or at the time of cheque issuance, no funds are in the account which will be used for payment at that time or withdrawal of money in whole or in part from the account which will be used for payment according to cheque until the balance of money is insufficient for payment according to that cheque. In addition, the agency with duty of operating supervision about use of cheque should be determined under supervision of Bank of Thailand. Moreover, debt settlement by other means may be supported or promoted instead of debt settlement by cheque since at present, we have been in digital age, the application of electronics system has been more essential for living and the audit and control can be easily performed. Therefore, it was deemed as appropriate that financial transaction via electronics system should be performed for consistency of the enforcement of cheque-related law with the principle of law and criminal theory, and huge reduction of unnecessary criminal lawsuits to the court, causing the effective and efficient enforcement of criminal law and judicial administration of Thailand.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account