DSpace Repository

ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลตามกรอบข้อกฎหมายและในทางปฏิบัติ : กรณีศึกษาเขตพื้นที่ตรวจราชการที่ 3 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด

Show simple item record

dc.contributor.author สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:03Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:03Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/706
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กรอบข้อกฎหมายและในทางปฏิบัติ รวมถึงศึกษาเพื่อทราบปัญหาและอุปสรรณด้านความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออก 7 จังหวัดในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 235 แห่งในภาคตะวันออก ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามเชิงปริมาณเรื่องความเป็นอิสระทางการบริหารด้านการกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคล แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) แบบสัมภาษณ์ โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นอิสระทางการบริหารขององค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ด้านการกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลมีความเป็นอิสระในระดับปานกลาง ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเป็นอิสระทางการบริหารของเทศบาลด้านการกำหนดนโยบายและการบริหารงานบุคคล มีความเป็นอิสระในระดับปานกลาง การบริหารงบประมาณ มีความเป็นอิสระค่อนข้างมาก ระดับความคิดเห็นความเป็นอิสระทางการบริหารขององค์กรการบริหารส่วนตำบล (อบต.) ด้านการกำหนดนโยบาย มีความเป็นอิสระในระดับปานกลาง การบริหารงาบประมาณ และการบริหารงานบุคคล มีความเป็นอิสระในระดับค่อนข้างมาก ส่วนปัญหาการถ่ายโอนภารกิจได้ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ไม่มีอิสระในการดำเนินภารกิจ งบประมาณ และบุคลากร และเกิดจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ล้าสมัยและการแทรกแซงจากกลุ่มอำนาจท้องถิ่น ทำให้อำนาจการตัดสินใจและอำนาจในการดำเนินงานภารกิจที่ถ่ายโอนนั้นเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเสนอแนะที่ได้จากการครั้งนี้แบ่งได้เป็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ หนึ่ง ส่วยราชการจะต้องถ่ายโอนอำนาจและภารกิจให้ท้องถิ่น พร้อมกับให้คำชี้แนะและดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีศักยภาพในการจัดทำบริการสาธารณะ สอง การจัดการความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างส่วนราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการจนนำไปสู่ความไม่มีอิสระของท้องถิ่น สาม สร้างมาตรการเพื่อไม่ให้กลุ่มอำนาจท้องถิ่นเข้ามาแทรกแซงการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนนำไปสู่ความไม่มีอิสระในการบริหาร และ สี่ สร้างมาตรการเพื่อการถ่วงดุลระหว่างข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองที่มีประสิทธิภาพและ ข้อเสนอแนะในทางวิชาการ ได้แก่ หนึ่ง การเปิดพื้นที่การศึกษาท้องถิ่นให้กว้างขวางและครอบคลุมในมิติต่างๆ เช่น การเมืองในท้องถิ่น (Local Politics) วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่น (Local Politicals Culture) สอง การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความแตกต่างในบริบทต่างๆ เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบความเป็นอิสระในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ สาม การศึกษาและพัฒนารูปแบบ (Model) การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจและวัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การปกครองท้องถิ่น - - ไทย th_TH
dc.subject สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ th_TH
dc.subject องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - - การบริหาร th_TH
dc.subject องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น th_TH
dc.title ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบาย การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลตามกรอบข้อกฎหมายและในทางปฏิบัติ : กรณีศึกษาเขตพื้นที่ตรวจราชการที่ 3 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative The main objective of this research is to study the autonomy of Thai local governments in terms of policy formulation, fiscal administration and personnel administration based on laws, regulations and practices. The research also attempts to study the problems and obstacles which resulted from the self – administration of local governments in 7 provinces in the eastern region. The sample size of this research, derived by means of stratified random sampling technique, consists of 235 local administration organizations located in the eastern part of Thailand. The study employs two research tools. The first part is the quantitative research by using the questionnaires asking about the autonomy in policy formulation, fiscal administration, and personnel administration. The design of questionnaires utilizes the ordinal scale at 5 levels for summative evaluation. Statistics which are used for analyzing data include frequency, percentage, arithmetic means, and standard deviation. The research also employs in-depth and group interviews of target informants. The finding of this research indicate that in average the Provincial Administration Organization express their opinions on the autonomy of policy formulation, fiscal administration and personnel administration at the moderate level, while Municipalities express their opinions on the autonomy of policy formulation and personnel administration at the moderate level, fiscal administration at the fairy high level, and Tambon Administration Organization express their opinions on the autonomy of policy formulation at the moderate level, fiscal administration and personnel administration at the fairy high level. Besides, the problems of devolution bring about the constraints of self- administration due to the ambiguity of the transfer of mission, budgeting, and personnel. The obstacles of obsolete regulations and intervention of local influentials also impede the decision-making and authority in the operation of transferred missions. This research has proposed policy recommendations which include: 1) governmental offices must transfer authority and mission to local governments with clear instruction and must look after them for the competency in providing public services; 2) the clear cut relationships between central government and local governments for not being overlapped in their functions which lead to the lack of autonomy; 3) creating the criteria for not allowing the local influential to intervene in the administration of local governments; and 4) setting the efficient standard for checking between elected officers and permanent officers. This research also proposed recommendations which include: 1) expanding the local educational arena to cover different dimensions such as local political culture; 2) studying comparative local government in different contexts for better understanding the autonomy and self- administration; and 3) studying and developing the models of local government administration to be inconsistent with power structure and local political culture of each province. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account