DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author ศิลา จันรอด
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:27:04Z
dc.date.available 2023-05-12T03:27:04Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6972
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ตามขอบข่าย งานวิชาการ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ด้านการนิเทศการศึกษา 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) จำนวน 291 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 53 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม มีค่าอยู่ระหว่าง .20-.74 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (ƒ) ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการนิเทศการศึกษา 3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน 2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด พบว่า 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) ด้านการนิเทศการศึกษา ควรช่วยเหลือครู ในด้านเทคนิควิธีสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม 4) ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ควรมีการกำกับ ติดตาม ดูแลการวัดและการประเมินผลในโรงเรียน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การนิเทศการศึกษา
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject การบริหารการศึกษา
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
dc.title.alternative Problems nd guided development for cdemic ffirs ofprimry school under the Office of Trt Eductionl Service
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to study and compare the academic administration problem and guidelines for the development of primary school under the office of Trat educational service in the four main areas which were the development of the curriculum, the development of learning processes the educational supervision and the measuring evaluationing and transferring learning outcomes. The research sample included administrators and teachers in primary school under the Office of Trat Educational Service year 2017 by the size of the sample from Krejcie and Morgan (1970, p. 608) 291 samples. Classified by sex, experience in academic administration and size of school. The research instrument was a five-rating scale. The questionnaire consisted of 53 questionnaire with a discriminative power between .20-.74 and a confidence level of .85 statistics used in data analysis include average score Standard deviation (SD) comparison of mean of 2 groups. Using 3 groups of comparison using (one-way ANOVA) when 0.5 was found the difference was tested by Scheffe’s method. The results showed that: 1. The problem of academic administration of schools of primary school under the office of trat educational service. Overall and individual aspect were at a medium level sort by average scores from high to low is 1) The development of curriculum 2) The educational supervision 3) The development of learning processes 4) the educational supervision and the measuring evaluationing and transferring learning outcomes. 2. The problem of academic administration of schools of primary school under the office of trat educational service. Classified by sex that it was a statistically significant difference at the .05 level by the measuring evaluationing and transferring learning outcomes. Classified by experience in academic administration that it was a statistically not significant difference and Classified by size of school it was a statistically significant difference at the .05 level all. 3. Analyze the guidelines for the development administration of schools of primary school under the office of trat educational service. The findings indicated that 1) The development of curriculum should organized activitiesto follow the rules and the consistent with the curriculum schools 2) The development of learning processes should support to organized activities to follow the rules and the consistent with the curriculum schools 3) The educational supervisionshould help the teacher have a technical to teach specially the process group to follow the rules and the consistent with the curriculum schools. 4) The measuring evaluationingand transferring should follow up the measuring evaluationing and transferring in the school follow the rules and the consistent with the curriculum schools
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account