DSpace Repository

ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนภณ นิธิเชาวกุล
dc.contributor.advisor ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ
dc.contributor.author สุรีย์พร ภูมิชัยสุวรรณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2023-05-03T07:44:12Z
dc.date.available 2023-05-03T07:44:12Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5426
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563.
dc.description.abstract ระบบลีนถูกนำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้องค์กรสามารถขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต การขนส่ง และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้เกิดการลดต้นทุน การเพิ่มผลิตภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์กร ในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบลีน 4.0 ขึ้น โดยปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การสนับสนุนและติดตามผลจากผู้บริหาร รวมทั้งการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ และวัฒนธรรมองค์กรแห่งลีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของระบบลีน 4.0  และ 2) ตรวจสอบและนำเสนอโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการทำระบบลีนหรือลีน 4.0 จำนวน 240 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ การฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ (TR) ส่วนปัจจัยความสำเร็จในการทำระบบลีน 4.0 ที่ได้รับอิทธิพลสูงสุด คือ การลดต้นทุนขององค์กร (CR) จากการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพบว่า ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญเพื่อดำเนินงานตามแนวคิดของระบบลีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การผลิตแบบลีน
dc.subject อุตสาหกรรมรถยนต์
dc.subject.classification การผลิตแบบลีน --การจัดการ
dc.title ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
dc.title.alternative Internal supporting factors influencing the success of Lean manufacturing 4.0 in automotive industry in the Eastern Economic Corridor.
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Lean system is implemented in the organization in order to get rid of wastes of production process, delivery, and to utilize all resources for maximize operational efficiency that will affect the cost reduction, productivity improvement, cost competitiveness and organizational sustainability. Nowadays, Lean system is leveled up to Lean 4.0. The factors that affected to Lean 4.0 development were policy setting, supporting and monitoring from management level, including human resources developing for lean knowledge and lean organizational culture. The purposes of this research were to study 1) the influence of the internal supporting factors to the success of Lean 4.0 and 2) investigating the consistency of the causal model and provides a causal model of internal supporting factors influencing the success of Lean 4.0 in the automotive industry. This research was conducted in the automotive industries implementing Lean or Lean 4.0 and located in the Eastern Economic Corridor. 240 operators working in automotive industries were sampled by judgment sampling technique. Data were analyzed by confirmatory factor analysis and structural equation model. The study results revealed that the highest influencing of internal supporting factor was training and knowledge transfer (TR), and the highest influenced success of Lean 4.0 was cost reduction (CR). According to a casual model analysis, it was found that the model was consistent with empirical data. The results of the research are helpful for the entrepreneurs to prioritize the steps of lean implementation in order to operate Lean system efficiently.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account