DSpace Repository

แบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

Show simple item record

dc.contributor.author วรรณวิชนี ถนอมชาติ
dc.contributor.author วทัญญู สุวรรณเศรษฐ
dc.date.accessioned 2022-08-16T01:31:33Z
dc.date.available 2022-08-16T01:31:33Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.issn 1906-9308
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4689
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจระดับความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ 2. พัฒนาและยืนยันแบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างระหว่างตัวแปรต่าง ๆ และลดความคลาดเคลื่อนในการเสนอผลการศึกษาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในการศึกษานี้ได้แก่แบบสอบถามปลายปิดแบบมีโครงสร้างที่พัฒนามาจากแนวคิดความสุขในการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เก็บข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์สถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการตอบกลับคืน จำนวน 318 ราย ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 8 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีความสุขด้านครอบครัวมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =3.56 และ S.D. = 0.56) และมีความสุขด้านสุขภาพที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 3.44 และ S.D. = 0.56) อยู่ในลำดับน้อยที่สุด นอกจากนั้น เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกองค์ประกอบและสามารถใช้อธิบายความสุขในการทำงานทั้ง 8 ด้านของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีโดยมีค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.19 ในขณะที่ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.92 และค่าดัชนีวัดระดับค่าความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.02 และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรในแบบจำลองพบว่า ตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และมีค่าเป็นบวกทุกด้าน ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 โดยพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบความสุขด้านการแสวงหาความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของตัวแปรย่อย ได้แก่ ความรับผิดชอบในงานมากที่สุดเท่ากับ 0.62 สามารถใช้อธิบายว่า ความรับผิดชอบในงานเป็นความสุขที่อธิบายความสุขด้านการแสวงหาความรู้เหมาะสมที่สุดถึงร้อยละ 62 ในขณะที่องค์ประกอบความสุขด้านสุขภาพดีมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดในประเภทของความสุขทั้ง 8 ด้าน แต่อย่างไรก็ตามมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกทุกด้านอยู่ระหว่าง 0.75 – 0.89 และมีตัวแปรด้านการดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย 0.80 ซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความสุขด้านสุขภาพดีได้มากที่สุดถึงร้อยละ 80 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความสุข th_TH
dc.subject การทำงาน -- แง่จิตวิทยา th_TH
dc.subject บุคลากรทางการแพทย์ th_TH
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง th_TH
dc.subject โควิด-19 (โรค) -- การแพร่ระบาด th_TH
dc.title แบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 th_TH
dc.title.alternative A model of sorking happiness under the concept of sufficiency economy of the healthcare professionals during the Covid-19 Pandemic th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 1 th_TH
dc.volume 12 th_TH
dc.year 2021 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were 1. to survey the level of working happiness under the concept of the sufficiency economy of the healthcare professionals during the COVID-19 Pandemic, 2. to develop and confirm the model of working happiness under the concept of the sufficiency economy of the healthcare professionals during the COVID-19 Pandemic. To review the structures of each variable and avoid being inaccurate in presenting the structural equation model, a confirmatory factor analysis (CFA) was run. The data collection instrument in this study was a developed close-ended questionnaire which was constructed based on the concepts of the Happy Workplace introduced by Thai Health Promotion Foundation and the concept of the Sufficiency Economy that His Majesty King Bhumibol Adulyadej gave the initiative to guide the way of life for the Thai people. Data was collected with 318 healthcare professionals working in hospitals in Bangkok. This study found that the levels of all the eight working happiness components under the concept of the sufficiency economy of the healthcare professionals working in hospitals in Bangkok during the COVID-19 Pandemic were reported at high levels. The highest working happiness component was ‘Happy Family’ (average = 3.56 and S.D. = 0.56) and the lowest one was ‘Happy Body’ (average = 3.44 and S.D. = 0.56) The result of confirmatory factor analysis of the structural equation model was a good fit with the empirical data which well explained all the working happiness components of the healthcare professionals working in hospitals in Bangkok during the COVID-19 Pandemic X2/df = 1.19, GFI = 0.95, AGFI = 0.92, CFI = 0.99, RMSEA = 0.02, NFI = 0.95). Considering the Factor Loading of working happiness components in the model, all factors were found significantly positive (P<0.001). The largest Factor Loading was ‘Happy Brain’. When looking at the coefficient of determination, the responsibility at work (R2 = 0.62) showed the highest score among the other variables and healthcare professionals’ responsibility at work could, up to 62 percent, explain that the responsibility at work was the happiness encouraging the encouraging the healthcare professional to enjoy their new discoveries. Although ‘Happy Body’ was the component that had the smallest factor loading among all the variables, Factor Loadings of all the eight working happiness components were positively found between 0.75 and 0.89. The way of life (R2 = 0.8) was the variable which could by a factor of 80 percent explain ‘happy body’ th_TH
dc.journal HRD journal. th_TH
dc.page 8-26. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account