DSpace Repository

ผลการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการฟัง และการพูดสำหรับเด็กวัยอนุบาล

Show simple item record

dc.contributor.author อรณภัทร์ มากทรัพย์
dc.contributor.author ศิรประภา พฤทธิกุล
dc.contributor.author สุกัลยา สุเฌอ
dc.date.accessioned 2022-07-23T11:25:43Z
dc.date.available 2022-07-23T11:25:43Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.issn 0125-3212
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4559
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กวัยอนุบาลก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษา กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยอนุบาล อายุ 3-4 ปี โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 25 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษา มีขั้นตอนหลักในการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอน ได้แก่ เตรียมประสบการณ์ก่อนอ่าน ตรวจสอบการคาดคะเนจากภาพในนิทาน ตรวจสอบการคาดคะเนจากการอ่านนิทาน คาดคะเนคำจากโครงสร้างของประโยคและความหมายของคำ และบูรณาการขั้นตอนของเทคนิคการสลับภาษาเป็นขั้นตอนย่อย ได้แก่ ทบทวน สาธิต ฝึกปฏิบัติ สรุปความเข้าใจ (2) แบบประเมินความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของเด็กวัยอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษก่อนการทดลองอยู่ในระดับควรส่งเสริม และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี โดยแยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้ 1) ด้านการฟัง ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับควรส่งเสริม (ค่าเฉลี่ย = 1.18, SD = .31) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.79, SD = .30) 2) ด้านการพูด ก่อนการทดลอง อยู่ในระดับควรส่งเสริม (ค่าเฉลี่ย = 1.23, SD = .28) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.57, SD = .46) 2. เด็กวัยอนุบาลมีความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน th_TH
dc.subject การศึกษาขั้นอนุบาล th_TH
dc.subject ความสามารถทางภาษา th_TH
dc.subject การสลับภาษา (ภาษาศาสตร์) th_TH
dc.title ผลการจัดประสบการณ์ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติร่วมกับเทคนิคการสลับภาษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการฟัง และการพูดสำหรับเด็กวัยอนุบาล th_TH
dc.title.alternative Effects of English language experience management based on whole language approach with code-switching teachnique to enhance listening and speaking abilities of preschoolers th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 2 th_TH
dc.volume 32 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this quasi-experimental research were to study and compare listening and speaking abilities among preschoolers before and after a English language experience management based on the Whole Language approach and code-switching technique. The participants of the study consisted of 30 preschoolers aged 3 to 4 years at Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University, in the second semester in the academic year 2020. During the eight-week experiment of the English language experience management, they participated in four 25-minute sessions per week (32 sessions in total). The research instruments used were: (1) lesson plans of the English language experience management based on the Whole Language approach and code-switching technique through four main steps: preparing pre-reading experience; examining predictions from pictures in a story; checking the predictions from storytelling; and making word predictions from sentence structures and meaning of the word, and integrate the steps of code-switching technique into sub-steps, namely review, demonstration, practice, and summary of understanding; and (2) assessment scale of preschoolers’ listen and speaking abilities. The statistic used for data analysis were mean, standard deviation, and independent t-test. Major findings were as follows: 1. The English listening and speaking ability of preschoolers before the experiment was at the “Needs Improvement” level, and after the experiment at the “Good” level. That is, the listening ability before the experiment was at the “Needs Improvement” level (average = 1.18, SD = .31) and after the experiment was at the “Good” level (average = 2.79, SD = .30). The speaking before the experiment was at “Needs Improvement” level (average = 1.23, SD = .28) and after the experiment was at the “Good” level (average = 2.57, SD = .46). 2. The English listening and speaking abilities of the preschoolers after the experiment was significantly higher than those before, at the .05 level. th_TH
dc.journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University th_TH
dc.page 60-75. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account