DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ในจังหวัดตาก

Show simple item record

dc.contributor.author วัชรินทร์ คำสา
dc.contributor.author วรรณรัตน์ ลาวัง
dc.contributor.author สมสมัย รัตนกรีฑากุล
dc.date.accessioned 2022-07-15T08:28:59Z
dc.date.available 2022-07-15T08:28:59Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4525
dc.description.abstract โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของประชากรไทยรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งการควบคุมและจัดการกับปัญหาที่ดีที่สุดคือ การจัดการให้กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เหมาะสม การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและอาศัยอยู่ในจังหวัดตาก จำนวน 207 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค การรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรค การเข้าถึงทรัพยากรที่เอื้อต่อการป้องกันโรค การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถแห่งตน และพฤติกรรมการป้องกันโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการหลีกเลี่ยงดื่มสุราและด้านการรับประทานยาและตรวจตามนัด อยู่ในระดับสูง และอีก 4 ด้านได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการหลีกเลี่ยงสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยตัวแปรการรับรู้ความสามารถแห่งตน (β = .43) และการสนับสนุนทางสังคม (β = .16) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและสามารถอธิบายได้ร้อยละ 23.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .230, F = 30.40, p < .001) ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยง โดยเพิ่มการรับรู้ความสามารถแห่งตนร่วมกับส่งเสริมให้ครอบครัวและเครือข่ายทางสังคมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนพฤติกรรมป้องกันโรค เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject หลอดเลือดโคโรนารีย์ - - โรค th_TH
dc.subject หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject กะเหรี่ยง -- สุขภาพและอนามัย th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ในจังหวัดตาก th_TH
dc.title.alternative Factors influencing preventive behaviors against coronary heart disease among karen at risk in Tak province th_TH
dc.type Article th_TH
dc.issue 3 th_TH
dc.volume 29 th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Coronary heart disease is a significant health problem in Thai people, including Karen, that requires appropriate preventive behaviors. This predictive correlational research aimed to describe preventive behaviors against coronary heart disease and to determine factors influencing those preventive behaviors. Multi-stage random sampling was used to recruit 207 participants of Karen at risk in Tak province. Data were collected from November to December 2020. Research instruments were interviews, including a demographic record form, the Preventive Behavior Knowledge, the Preventive Behaviors Perception, the Disease Preventive Resource Accessibility, the Social Support Perception, the Self-Efficacy Perception, and the Preventive Behaviors surveys. Descriptive statistics and stepwise multiple regression were used to analyze the data. The overall results revealed that preventive behaviors against coronary heart disease among Karen at risk food consumption, exercise, stress management, and smoking were rated at medium levels. Alcohol consumption and medication adherence and follow-up were rated at high levels. Self-efficacy perception (β = 0.43) together with the social support perception (β = 0.16) were factors influencing preventive behaviors and explained 23.0% of the variance in preventive behaviors against coronary heart disease (R2 = .230, F = 30.40, p < .001). These findings suggest that nurses and other health personnel should develop programs to promote preventive behaviors against coronary heart disease in Karen at risk through increasing self-efficacy perception and encouraging family and other important persons to participate in preventive behavior support. These should improve the odds that the Karen at risk will develop appropriate preventive behaviors for improving their health and quality of life. th_TH
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.page 76-89. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account