DSpace Repository

การศึกษาศักยภาพของเลแวนที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อใช้เป็นสารต้านอักเสบที่มีประสิทธิภาพ

Show simple item record

dc.contributor.author พรพรรณ อร่ามแสงเทียนชัย
dc.contributor.author กล่าวขวัญ ศรีสุข
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-06T04:18:00Z
dc.date.available 2022-06-06T04:18:00Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4405
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย เงินรายได้ส่วนงาน เงินกองทุนวิจัยและพัฒนา ทุนวิจัยมุ่งเป้าหมายที่ ๓ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เลขที่สัญญา ๐๑๒/๒๕๖๒ th_TH
dc.description.abstract เลแวนหรือลีแวนเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ของฟรุกโทสที่เชื่อมต่อกันผ่านทางด้วยพันธะเบต้า-(2,6) ไกลโคซิดิก เลแวนเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ในอุตสาหกรรมยา อาหารและเครื่องสำอางที่หลากหลาย เนื่องจากคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย ต้านการเกิดเนื้องอก และต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเลแวนที่มีขนาดโมเลกุลแตกต่างกันอาจส่งผลให้ฤทธิ์ชีวภาพที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์การต้านอักเสบของเลแวนที่มีขนาดโมเลกุลแตกต่างกัน ในการทดลองเริ่มจากการหาสภาวะในการเลี้ยงแบคทีเรีย Bacillus subtilis เพื่อให้แบคทีเรียสามารถผลิตเลแวนที่มีขนาดโมเลกุลที่แตกต่างกัน โดยใช้สภาวะในการเลี้ยงที่แตกต่างกัน ได้แก่ สูตรอาหาร ความเข้มข้นของซูโครส อัตราเร็วในการเขย่า (RPM) จากผลการทดลองที่ได้พบว่าสามารถเตรียมเลแวนที่มีขนาดโมเลกุลแตกต่างกันสามขนาด ได้แก่ M1 (>8x105 ดาลตัน) M2 (1.5x104 ดาลตัน) และ M3 (5x103 ดาลตัน) ตามลำดับ เมื่อนำเลแวนทั้งสามขนาดโมเลกุลไปทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจ RAW264.7 โดยวิธี MTT พบว่าเลแวน M1 M2 และ M3 ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 31.25-250 g/mL ไม่เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ใช้ทดสอบ เมื่อนำเลแวนไปทดสอบการต้านอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจ RAW264.7 ที่ได้รับ LPS พบว่าเลแวนทั้งสามขนาดไม่มีฤทธิ์ในการต้านอักเสบผ่านการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ ในทางตรงข้าม พบว่าเลแวนทั้งสามขนาดสามารถกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์ได้ในระดับที่แตกต่างกันไป โดย M2 มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์ที่สูงสุด รองลงมาคือ M1 และ M3 ตามลาดับ ดังนั้น เลแวนจึงมีแนวโน้มในการช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในเซลล์แมคโครฟาจ RAW264.7 และขนาดโมเลกุลที่แตกต่างกันส่งผลต่อการกระตุ้นที่เกิดขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงการเตรียมเลแวนที่มีขนาดเหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้เป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แบคทีเรีย -- การเพาะเลี้ยง th_TH
dc.title การศึกษาศักยภาพของเลแวนที่มีขนาดแตกต่างกันเพื่อใช้เป็นสารต้านอักเสบที่มีประสิทธิภาพ th_TH
dc.title.alternative The potential of different molecular weights of levan as an effective anti-inflammatory agent en
dc.type Research th_TH
dc.author.email pornpun.ar@go.buu.ac.th th_TH
dc.author.email klaokwan@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative Levan is a polymer of fructose molecules linked via beta-2-6 glycosidic bond. This biopolymer has a potential for applying in pharmaceutical, food and cosmetic industries due to its antibacterial, antitumor, and antioxidant properties. However, the previous research revealed that different levan molecular weights (MWs) might exhibit different levels of biological activities. The objective of this study aims to investigate the effect of different molecular weights (MWs) of levan on its anti-inflammatory. Initially, the culturing conditions of Bacillus subtilis such as media formulas, sucrose concentrations, and rate of shaking (RPM) were investigated to obtain different MWs of levan. From the results, three different MWs of levan were prepared which were M1 (>8x105 Da), M2 (1.5x104 Da), and M3 (5x103 Da), respectively. Based on MTT assay, these levans at the concentration range of 31.25-250 g/mL did not exhibit cytotoxicity to RAW264.7 macrophage cells. However, these three different MWs of levan did not show nitric oxide inhibitory effect in LPS-induced RAW264.7 cells. Therefore, no anti-inflammatory activity was observed from all of these levans. On the other hand, the three different MWs of levan stimulate the nitric oxide production suggesting their immunomodulatory effect. The results showed that M2 can stimulate the highest nitric oxide production when compared to M1 and M3, respectively. Different MWs of levan can therefore lead to different levels of immunostimulation effect. Altogether, the results from this study suggest that certain MWs of levan can be potentially used as a natural immune modulator. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account