DSpace Repository

เส้นใยอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ภควรรณ เศรษฐมงคล
dc.contributor.author รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
dc.contributor.author กัญญารัตน์ สุนทรา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล th
dc.date.accessioned 2022-05-24T09:45:53Z
dc.date.available 2022-05-24T09:45:53Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4392
dc.description ทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งเงินรายได้มหาวิทยาลัย กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2562 th_TH
dc.description.abstract การศึกษาปริมาณเยื่อใยในสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 3 ชนิด ได้แก่ Chaetomorpha sp. Sargassum sp. และ Gracilaria sp. พบว่า Gracilaria sp มีปริมาณเยื่อรวมทั้งหมดสูงสุด 55.58 % รองลงมาคือสาหร่าย Sargassum sp. (49.00%) และ Chaetomorpha sp. (36.42%) เมื่อนำปริมาณเยื่อรวมทั้งหมดมาแจกแจงเป็นกลุ่มเยื่อใยที่ละลาย และกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำพบว่า Gracilaria sp. มีปริมาณเยื่อใยดังกล่าวสูงสุด 6.97 และ 48.61% ตามลำดับ เมื่อนำสาหร่ายทะเลทั้ง 3 ชนิดมาทดสอบสกัดเยื่อใยแบบหยาบ (Crude fiber extraction) ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1) การสกัดด้วยน้ำร้อน วิธีที่ 2) การสกัดด้วยด่างและตัวทำละลายอินทรีย์ และวิธีที่ 3) การสกัดด้วยเอนไซม์ หลังจากนั้นจึงนำเยื่อใยแบบหยาบที่สกัดได้ไปวิเคราะห์ปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ด้วยวิธี Detergent Method พบว่า การสกัดเยื่อใยด้วยวิธีที่ 3 (การสกัดด้วยเอนไซม์) ทำให้สาหร่ายทั้ง 3 ชนิดมีปริมาณเซลลูโลสสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดอื่น ๆ โดยสาหร่าย Chaetomorpha sp. เป็นชนิดที่ตรวจพบปริมาณเซลลูโลสในสารสกัดเยื่อใยแบบหยาบสูงที่สุด (77.48%) ส่วนวิธีที่ 1 (การสกัดด้วยน้ำร้อน) เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดเฮมิเซลลูโลส โดยสาหร่าย Gracilaria sp. เป็นชนิดที่มีปริมาณเฮมิเซลลูโลสสูงสุด (56.61%) โดยสาหร่ายทั้ง 3 ชนิดมีปริมาณลิกนินต่ำอยู่ในช่วง 4.47 0.57% เมื่อนาเยื่อใยของสาหร่ายทั้ง 3 ชนิดที่สกัดด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมาตรวจสอบสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า สาหร่าย Gracilaria sp. ที่สกัดด้วยวิธีที่ 2 (การสกัดด้วยด่างและตัวทำละลายอินทรีย์) มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด (0.213±0.016 mg_GAE/g) เมื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH free radical scavenging activity พบว่า เยื่อใยสาหร่ายจาก Chaetomorpha sp. ที่สกัดด้วยวิธีที่ 1 (การสกัดด้วยน้ำร้อน) มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเมื่อ เปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับเยื่อใยที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเลในชุดการทดลองอื่น ๆ โดยมี ค่า IC50 เท่ากับ 10,503.16 ± 516.93 ppm แต่เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวกับสารมาตรฐานวิตามินซีพบว่า มีค่าต่ำกว่าสารมาตรฐาน 4,049.02 เท่า โดยเยื่อใยที่สกัดได้จากสาหร่ายส่วนใหญ่มีค่า pH เป็นกลางในช่วง 7.27 7.77 นอกจากนี้พบว่า ความชื้นในสารสกัดเยื่อใยมีค่าต่ำสุดในสาหร่าย Chaetomorpha sp. (0.82 ± 0.26%) ที่สกัดด้วยวิธีที่ 3 (การสกัดด้วยเอนไซม์) ส่วนเยื่อใยจากสาหร่าย Gracilaria sp. ที่สกัดด้วยเอนไซม์มีความสามารถในการอุ้มน้ำของใยอาหารสูงสุด 0.32 ± 0.01% th_TH
dc.description.sponsorship กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject สาหร่ายทะเล th_TH
dc.subject อ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) th_TH
dc.title เส้นใยอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี th_TH
dc.title.alternative Efficiency of antioxidant dietary fiber of marine macroalgae in Kung Krabaen Bay, Chanthaburi province en
dc.type Research th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative The study of fiber quantity in 3 seaweeds which were Chaetomorpha sp., Sargassum sp. and Gracilaria sp. found that Gracilaria sp. had highest fiber quantity at 55.58% then Sargassum sp. at 49.00% and Chaetomorpha sp. at 36.42%. Then separated fiber into 2 groups which were water soluble and non-water soluble and found that Gracilaria sp. had 6.97% and 48.61%, respectively. Crude fiber extraction from 3 seaweeds were studied further by using 3 different methods which were (1) Hot water extraction method. (2) Organic solvents extraction method and (3) Enzymes extraction method. After that crude fiber extracts were analyzed to find the quantity of cellulose, hemicellulose and lignin by using detergent method. The result showed that the 3rd method which was enzyme extraction method had produced highest cellulose from 3 seaweeds than other methods. Chaetomorpha sp. was the specie that found highest cellulose in crude fiber extract at 77.48% and the 1st method (hot water extraction method) was the best method to extract hemicellulose. Gracilaria sp. was the seaweed which had highest hemi cellulose at 56.61%. All 3 seaweeds had low lignin level in the range of 4.47 - 0.57%. When testing for antioxidant agent in all fiber from 3 seaweeds by using different methods found that Gracilaria sp. using 2nd method (Organic solvents extraction method) had highest total phenolic content at (0.213±0.016 mg_GAE/g. DPPH free radical scavenging activity was tested too and the result showed that fiber from Chaetomorpha sp. which extracted by 1st method (hot water extraction method) had highest effective antioxidant level when compared to others which had IC50 at 10,503.16 ± 516.93 ppm but when compared with standard vitamin c found that its lower than the standard around 4,049.02 times. Almost extracted fiber had pH in the range of 7.27-7.77 furthermore, extracted fiber from Chaetomorpha sp. had lowest moisture at 0.82 ± 0.26% when using the 3rd method (enzyme extraction method). However, extracted fiber from Gracilaria sp. using enzyme extraction method had ability to hold the water at 0.32 ± 0.01%. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account