DSpace Repository

ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง และชนิดเชื้อราก่อโรคในผู้ที่มีโรคเชื้อราที่เล็บในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author เกศกนิษฐ์ ธรรมคำภีร์
dc.contributor.author เพ็ชรงาม ไชยวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-23T03:36:22Z
dc.date.available 2022-05-23T03:36:22Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4376
dc.description งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ th_TH
dc.description.abstract บทนำ: โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการติดเชื้อราที่ผิวหนังและเล็บ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพลภาพจากการติดเชื้อแบคทีเรียและเป็นแผลเรื้อรัง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยเสี่ยง และชนิดเชื้อราก่อโรคในผู้ที่มีโรคเชื้อราที่เล็บในผู้ป่วย เบาหวาน วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563 โดยผู้ร่วมการศึกษาจะได้รับการสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจเล็บมือและเล็บเท้า โดยแพทย์ หากมีหลักฐานสงสัยว่าเป็นโรคเชื้อราที่เล็บ จะได้รับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมได้แก่ การตรวจโดยการขูดเชื้อราและย้อม Potassium hydroxide (KOH preparation), การย้อมพิเศษด้วย Periodic Acid Schiff (PAS) และการเพาะเชื้อรา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานเข้าร่วมการศึกษา 304 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.72 อายุเฉลี่ย 63 ปี พบการติดเชื้อราที่เล็บ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.11 เชื้อก่อโรคที่พบในโรคเชื้อราที่เล็บมากเป็นลำดับแรกคือ non-dermatophyte ได้แก่ Aspergillus niger complex 10 ราย, Aspergillus flavus complex 7 ราย และพบน้อยที่สุดเป็น dermatophyte ได้แก่ Trichosporon inkin 1 ราย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อราที่เล็บมีอายุมากกว่าที่ไม่มีการติดเชื้อราที่เล็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (อายุ 70 และ 61 ปี) พบว่า อายุที่มากกว่า 60 ปีขึ้นไปเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการติดเชื้อราที่เล็บในผู้ป่วยเบาหวานโดยมีค่า Risk ratio 3.159 (95%CI = 1.599-6.240) (p = 0.0001) สรุปผลการศึกษา: อายุมากกว่า 60 ปีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มการติดเชื้อราที่เล็บ และพบว่า Aspergillus spp. เป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเบาหวานที่ติดเชื้อราที่เล็บ ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อราที่เล็บควรมีการส่งเพาะเชื้อราที่เล็บการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เบาหวาน th_TH
dc.subject เชื้อราก่อโรค th_TH
dc.subject เล็บ - - โรค th_TH
dc.title ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง และชนิดเชื้อราก่อโรคในผู้ที่มีโรคเชื้อราที่เล็บในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Prevalence, Risk Factors, and Type of Organism in Diabetic Patients with Onychomycosis at Burapha University Hospital en
dc.type Research th_TH
dc.author.email katkanit.th@buu.ac.th th_TH
dc.author.email pechngamchaivanit@gmial.com th_TH
dc.year 2563 th_TH
dc.description.abstractalternative Introduction: People living with diabetes could be risk for fungal skin and nail infection. Improper diagnosis and treatment can result in several consequences, including disability. Objective: This research aims to study prevalence, risk factor and type of organism in diabetic patients with onychomycosis. Methods: Cross-sectional study was conducted among diabetic patients at Burapha university hospital during March 1, 2020 to August 31, 2020. Inclusion criteria were patients age > 18 years and consent to participate in this study. Participants were interviewed on medical history, examined nails and toe nails. Further investigation by Potassium hydroxide (KOH) preparation, Periodic Acid Schiff (PAS) stain and fungal culture were done if onychomysosis was suspected. Results: Among 304 diabetic patients, 45.72% were male and the mean age was 63 years. 52 patients (17.11%) with onychomycosis was diagnosed. The most common organism was non-dermatophyte i.e. Aspergillus niger complex 10 patients, Aspergillus flavus complex 7 patients. The least common organism was dermatophyte i.e. Trichosporon inkin 1 patients. Patients with onychomycosis were significantly older than nononychomycosis group (70 vs 61 years). In univariate model, age > 60 years was significantly associated with onychomycosis risk ratio 3.159 (95%CI = 1.599-6.240)(p = 0.0001) Conclusions: diabetic patients > 60 years were at risk for onychomycosis. The most common cause of organism was Aspergillus spp. which is uncommon among other population. Therefore fungal culture should be recommended among diabetic patients with onychomycosis. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account