DSpace Repository

แอพพลิเคชั่นทางมือถือสำหรับการให้ความรู้และการดูแลรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

Show simple item record

dc.contributor.author วิภาพร พันธุ์วิชัย
dc.contributor.author อลิสรา วงศ์สุทธิเลิศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-18T07:10:28Z
dc.date.available 2022-05-18T07:10:28Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4344
dc.description โดยงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 th_TH
dc.description.abstract บทนำและวัตถุประสงค์ : แอพพลิเคชั่นทางมือถือเป็นเครื่องมือที่นิยมนามาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของ Love Thyroid app สำหรับผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษที่มารักษาด้วยการกลืนแร่ วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงทดลองในผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและเข้ารับการรักษาด้วยการกลืนแร่ ณ คลินิกไทรอยด์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาในเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 จำนวน 120 ราย โดยผู้ป่วยประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานและด้านการยอมรับของ Love Thyroid app และสมุดประจำตัวผู้ป่วย ซึ่งวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสื่อทั้งสองชนิดด้วย Wilcoxon sign rank test (matched paired) ผลการศึกษา ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 39 ปีและส่วนใหญ่ใช้สมาร์ตโฟนที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Android (ร้อยละ 80.0) ผู้ป่วยให้คะแนนประโยชน์ของเนื้อหาใน app และสมุดประจำตัวผู้ป่วยในระดับดีขึ้นไปและคะแนนไม่แตกต่างกัน (p=0.8242) แต่พบว่า app ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่า (p=0.0107) การออกแบบมีความน่าสนใจมากกว่า (p=0.0139) สะดวกต่อการพกพามากกว่า (p<0.0001) และมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวสูงกว่า (p=0.0006) ผู้ป่วยยังพึงพอใจในการใช้งานของ app มากกว่า (p<0.0001) และยังแนะนำผู้อื่นให้ใช้ app มากกว่าใช้สมุดประจำตัวผู้ป่วย (p<0.0001) อีกด้วย สรุปและข้อเสนอแนะ : Love Thyroid app ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษที่เข้ารับการกลืนแร่ได้ดีกว่าสมุดประจำตัวผู้ป่วย การพัฒนา app ในงานวิจัยนี้จึงเป็นต้นแบบที่ดีของการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยในยุคปัจจุบัน th_TH
dc.description.sponsorship คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject แอพพลิเคชั่นทางมือถือ th_TH
dc.subject ต่อมธัยรอยด์ - - โรค th_TH
dc.subject ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ th_TH
dc.title แอพพลิเคชั่นทางมือถือสำหรับการให้ความรู้และการดูแลรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ th_TH
dc.title.alternative A smartphone application for health education and management of hyperthyroidism en
dc.type Research th_TH
dc.author.email wipaporn1412@gmail.com th_TH
dc.author.email alisara@buu.ac.th th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Objective – Smartphone application becomes popular tools for medical treatment, especially in the situation of Coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic. The aim of this study was to develop and determine the effectiveness of Love Thyroid app for hyperthyroid patients who were treated by Radioactive Iodine Treatment (RIT). Methods – An experimental study was enrolled 120 hyperthyroid patients who were above 18 years of age and treated with Radioactive Iodine Treatment at the Thyroid Clinic, Burapha University Hospital from January to June 2021. This study is compared the rating scale of patient’s usability and acceptability between Love Thyroid app and Love Thyroid Book using Wilcoxon sign rank test (matched paired). Results – Of 120 patients studied, the average age of the patients was 39 years. 80% of the patients used the smartphone as an android system. The results demonstrated that the usefulness of the education contents on both Love Thyroid app and Love Thyroid Book were ranked above good level and no significant difference in scores (p=0.8242). However, Love Thyroid app provided higher effectiveness to the patients to follow up after RIT (p=0.0107), was more interesting on app design (p=0.0139), more convenient to carry (p<0.0001), and more confident in data security (p=0.0006). In addition, the patients also satisfied usability of Love Thyroid app (p<0.0001) and recommended others to use Love Thyroid app more than Love Thyroid Book (p<0.0001). Conclusion – Love Thyroid app are more responsive to hyperthyroid patients’ demands who are treated with RIT than Love Thyroid Book. Furthermore, the development of Love Thyroid app in this study is a good role model to adapt the technology and software for medical treatment nowadays. en
dc.keyword สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account