DSpace Repository

ลำดับขั้นการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่นในเขตภาคตะวันออกของไทย

Show simple item record

dc.contributor.author พรนภา หอมสินธุ์ th
dc.contributor.author รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:49Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:49Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/429
dc.description.abstract การสูบบุหรี่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยที่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการสูบบุหรี่ ลำดับขั้นการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นไทย ในเขตภาคตะวันออก โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีอิทธิพลสามทาง (The Theory of Triadic Influence (TTI) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6) และนักเรียนอาชีวศึกษา (ปวช.) ทั้งในสังกัดรัฐบาลและเอกชนในเขตภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้น 800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง การสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่มย่อยวัยรุ่น จำนวน 50 คน เพื่อนำมาอธิบายผลการศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาด้วยสถิติ multinomial logistic regression ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นมีอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 24.7 เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ตามระยะต่าง ๆ ของลำดับขั้นการสูบบุหรี่ พบว่า วัยรุ่นมีการสูบบุหรี่อยู่ในระยะมั่นใจที่จะไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 53.7 ระยะลังเลใจที่จะสูบ ร้อยละ 8.8 ระยะทดลองสูบ ร้อยละ 12.8 ระยะสูบตามโอกาส ร้อยละ 15.8 มีเพียง ร้อยละ 1.5 และ 7.4 ที่อยู่ในระยะสูบประจำและระยะติดบุหรี่ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบุหรี่ในระยะต่าง ๆพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะลังเลใจที่จะสูบบุหรี่ ได้แก่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะทดลองสูบบุหรี่ ได้แก่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะสูบตามโอกาส ได้แก่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ของเพื่อนสนิท ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการยอมรับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะสูบประจำ/ ติดบุหรี่ ได้แก่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ เพศ ความผูกพันกับครอบครัว ความผูกพันกับโรงเรียน และการยอมรับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ จะเห็นว่าทัศนคติต่อการสูบและการถูกชักชวนให้สูบ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทุกระยะของการสูบบุหรี่ ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาดปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความเหมาะสมกับระยะการสูบของเยาวชนเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในเยาวชนต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject บุหรี่ th_TH
dc.subject วัยรุ่น - - การสูบบุหรี่และยาสูบ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ลำดับขั้นการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่นในเขตภาคตะวันออกของไทย th_TH
dc.title.alternative Smoking stages among adolescents in the eastern part of Thailand th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553
dc.description.abstractalternative Smoking remains a major public health problem that lead to several negative impacts including physical, mental, social and economic in Thai society, especiallt among youths. The purposes of this study were to identify the prevalence of smoking and smoking stages, and to examine the factors related to smoking among Thai youths in the Eastern part of Thailand. The triadic influence theory (TTI) was usde as a conceptual framwork. The participants of the study were secondary school students (Mathayom 4 to Matayom 6) and vocational college students (vocational certificate) both public and private schools in the eastern part of Thailand. A total sample was 800 students. Data were collected with self-asministered questionnaires. In addition, in-depth interview and focus group discussion were carried out by 50 students in order to elaborate findings. Statistics including mean,percentage, standard deviation, and multinomial logistic regression were used to analyze data. Content analysis technique was also used. The findings of the study demonstrated that the prevalence of smoking in adolescents was 24.7% Regarding the stages of smoking, 53.7% were categorized as being in the non-susceptible precontemplation stage, while 8.8%, 12.8% and 15.8% of them were classified as being in the susceptible precontemplation, tried, and experimentation stages respectively. There were only 1.5% and 7.4% of them classified as being in the regular smoking stage and established smoking stage. Factors related to the susceptible precontemplation stage were attitudes towards smoking and offers of smoking. Factors related to the tried stage were offers of smoking, attitudes towards, GPA, and parental smoking. Factors related to the experimentation stage were offers of smoking, attitudes towards smoking, peer smoking, GPA, parental approval of smoking. Factors related to the regular smoking/ established smoking stage were attitudes towards smoking, offers of smoking, gender, family attachment, school attachment, and parental approval of smoking, Attitudes towards smoking and offers of smoking were significantly associated with all stages of alcohol drinking. The study outcome will enable the authority to understand the Thai youth smoking behavior, and could be used to develop an efficient program tailored to the smoking progression of adolescents, so as to prevent them from cigarette smoking. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account