DSpace Repository

รูปแบบการจัดตั้งศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author ณปภา จิรมงคลเลิศ
dc.contributor.author บรรพต วิรุณราช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-07-04T07:39:01Z
dc.date.available 2021-07-04T07:39:01Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4272
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและภารกิจของศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก เพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าว งานวิจัยนี้อาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก จำนวน 17 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยเทคนิคเดลฟาย และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติข้อมูลค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การตรวจสอบความถูกต้องและรับรองผลการศึกษาวิจัยด้วยการขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ (โดยกำหนดให้เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปและมีประสบการณ์การเขียนหนังสือหรือตำรา) จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการพัฒนารูปแบบการจัดตั้งศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรแบ่งเป็น 4 พันธกิจหลัก คือ 1. กิจกรรมต้นน้ำ คือ ต้นฉบับหนังสือตำรา ได้แก่ 1) ด้านการแสวงหาอาจารย์หรือนักวิชาการ ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ 2) ด้านการเขียนหนังสือตำรา ต้นฉบับ และ 3) ด้านการสร้างคุณค่าให้กับหนังสือตำรา ตรงตามความต้องการของผู้อ่าน 2. กิจกรรมกลางน้ำ คือ ผลิตหนังสือตำรา ได้แก่ 1) ด้านวิธีการนำข้อมูลต้นฉบับมาจัดพิมพ์ ออกแบบปก เนื้อใน การใช้กระดาษ ความสวยงาม 2) ด้านกระบวนการจัดพิมพ์ต้องทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว เคลือบปก เข้าเล่มเรียบร้อย และ 3) ด้านรูปเล่มมีสีสันสวยงามดึงดูดความสนใจ น่าอ่าน ทำให้เกิดมูลค่าในตัวหนังสือตำรา 3. กิจกรรมปลายน้ำ คือ จำหน่ายหนังสือตำรา ได้แก่ 1) ด้านหนังสือ ตำรา มีความถูกต้อง เรียบร้อย ตรงรูปแบบ 2) ด้านคลังสินค้า สถานที่จัดจำหน่ายสวยงาม ทำเลที่ตั้ง ควรเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) ด้านการบริการก่อน-ระหว่าง-หลังการขาย ที่ดีมีประสิทธิภาพ พนักงานมีจิตใจในการให้บริการ 4. ประเด็นอื่น ๆ การบริหารจัดการศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก ควรเป็นแบบเครือข่าย โดยการส่งตัวแทนจากทุกสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก เพื่อมาเป็นคณะกรรมการบริหาร (บอร์ดบริหาร) เป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ 2) ด้านการลงทุนร่วมกัน โดยส่วนงานใดมีงบประมาณมากลงทุนมากส่วนงานใดมีงบประมาณน้อยลงทุนน้อย ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบหุ้นเช่นเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ และ 3) ด้านการแบ่งผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามการลงทุนในสัดส่วนที่เท่ากับงบประมาณการลงทุน แต่ต้องเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไรสูงสุด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ศูนย์หนังสือ th_TH
dc.subject สถาบันอุดมศึกษา th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title รูปแบบการจัดตั้งศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative A model for the establishment of a book center for higher education institutions in the eastern region network en
dc.type Article th_TH
dc.issue 3 th_TH
dc.volume 11 th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study a model and missions of a book center for higher education institutions in the Eastern region network. In order to fulfill this objective, this research employed a qualitative research methodology. Key-informants are 17 authorities and experts in administrating higher education institutions in the Eastern region network. The data had been collected by taking in-depth interviews with Delphi Technique. Data was statistically analyzed by using median and interquartile range. Research results was verified and rectified by approaching opinions from 6 authorities (who were at least assistant professor and experienced in publishing books or textbooks). The research found that, to develop a model of a book center for higher education institutions in the Eastern region network, stakeholders should fulfill 4 main tasks as the followings: 1. Upstream activities should focus on a manuscript of books and textbooks: 1) a search for instructors or academics who had empirical and well-known publications with academic standard; 2) a writing of manuscript; and 3) a value enhancement on books and textbooks matching with readers’ needs. 2. Midstream activities should focus on a publishing process of books and textbooks: 1) a process on publishing manuscript, designing cover, formatting content, and choosing proper paper; 2) a publishing process must be modern, accurate, fast, and neat; and 3) a production should be colorful, attractive, and adorable for enhancing value-added products. 3. Downstream activities should focus on selling concerning on: 1) books and textbooks with accuracy and correct specification; 2) stocks, stores, and a center located at Burapha University; and 3) pre-sales, mid-sales, and after sales services with efficiency and service-mind officers. 4. Others relevant issues were those of: 1) in terms an administrative structure, a board committee of a book center for higher education institutions in the Eastern region network should be collected from representatives from each member. They should be mutually responsible for formulating management policies from upstream, midstream, and downstream; 2) in terms of collective investment, institution with high budgets should invest more than those who had lower budgets. A board committee might consider for an establishment of cooperative unit; and 3) in terms of profit sharing, a board committee must concern on investing proportions corresponding with initial budgets. Notwithstanding, a book center network should stand on non-maximizing profit organization. en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย th_TH
dc.page 497-518. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account